บริษัท รับสร้างบ้าน

บริษัทรับสร้างบ้าน รับสร้างบ้าน สร้างบ้าน สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

5 เทคนิคออกแบบฟังก์ชันบ้านรองรับวัยเกษียณ

02
ก.ย.
2564

 

 

ปัจจุบันไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว ด้วยอัตราการเกิดที่น้อยลง บวกกับการแพทย์ที่ก้าวหน้า ทำให้คนมีอายุขัยเฉลี่ยยืนยาวขึ้น อีกทั้งประชากรที่เกิดในยุค Baby Boomers ได้เข้าสู่วัยสูงอายุกันหมด ดังนั้นเทรนด์การสร้างบ้านเพื่อรองรับวัยเกษียณจึงได้รับความสนใจมากขึ้น

เมื่อเอ่ยถึง "บ้านวัยเกษียณ" ส่วนมากคงคิดถึงบ้านชั้นเดียวที่ไม่ต้องขึ้นลงบันได แต่จริงๆ แล้วยังต้องคิดเผื่อร่างกายที่เริ่มทรุดโทรมเสื่อมชราภาพด้วย ดังนั้นก่อนจะสร้างบ้านลองมาดู 5 เทคนิคออกแบบฟังก์ชันบ้านรองรับวัยเกษียณ ที่สมาคมธุรกิจสร้างบ้าน รวบรวมมาฝากว่าควรจัดฟังก์ชันอะไรบ้างเพื่อตอบโจทย์ความสะดวกสบาย และสามารถรองรับสังคมผู้สูงอายุได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง


1. มีทางลาดสำหรับวีลแชร์

แม้ว่าตอนที่วางแผนสร้างบ้านผู้สูงอายุอาจจะเดินเหินได้คล่อง แต่ด้วยวัยของผู้สูงอายุ การเดินขึ้นลงด้วยทางลาด จะสบายต่อขาและเข่ามากว่าการก้าวเดินขึ้นบันได อีกทั้งการออกแบบเผื่อไว้ล่วงหน้าจะเป็นการดีกว่ามาต่อเติมในภายหลัง อีกทั้งทางลาดก็มีประโยชน์หลากหลาย นอกเหนือจากการรองรับวีลแชร์ เช่น ใช้สำหรับขนของเข้าบ้านหรือลากกระเป๋าเดินทางได้อย่างสะดวก


2. ประตูบานใหญ่ และเป็นแบบเลื่อน

โดยปกติบ้านทั่วไปมักนิยมใช้ประตูบานผลัก แต่สำหรับบ้านผู้สูงอายุประตูบานผลักไม่ใช่ตัวเลือกที่เหมาะสมนัก เพราะยากต่อการเปิด และไม่รองรับรถเข็นในอนาคต บานประตูที่เหมาะสมคือ บานประตูแบบเลื่อนสองตอนที่มีขนาดกว้างกว่า 36 นิ้วขึ้นไป (ขนาดที่รถเข็นเข้าออกสะดวก) ผู้สูงอายุสามารถจับเกาะและพยุงตัวได้ ที่สำคัญต้องออกแบบให้ลางเลื่อนนั้นแนบไปกับพื้น หรือติดตั้งรางเลื่อนชนิดแขวนบน เพื่อช่วยป้องกันการสะดุดล้มและรถวีลแชร์สามารถสัญจรผ่านได้อย่างสะดวก


3. ใช้วัสดุที่ตอบโจทย์ความปลอดภัยและสุขภาพ

ห้องนอนผู้สูงอายุโดยส่วนมากนิยมไว้ชั้นล่าง และโดยปกติชั้นล่างของบ้านทั่วไปจะนิยมปูด้วยพื้นกระเบื้อง เพื่อป้องกันความชื้นจากดิน และความสวยงาม ซึ่งสำหรับผู้สูงอายุให้ระมัดระวังการเลือกวัสดุปูพื้น ต้องเป็นกระเบื้องผิวด้าน เพื่อป้องกันการลื่นล้ม ส่วนตกแต่งบ้านควรเลือกเฟอร์นิเจอร์ที่ทำความสะอาดง่าย ไม่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค และฝุ่น เฟอร์นิเจอร์ต้องมีขนาดไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป สามารถใช้งานได้แบบไม่ต้องก้มหรือย่อ




4. ห้องนอนที่รองรับความสะดวก

ตำแหน่งของห้องนอน สำหรับบ้านเพื่อรองรับวัยเกษียณนั้น ควรอยู่ใกล้กับฟังก์ชันอื่นๆ อาทิ ห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร หรือ ห้องที่มีการเดินผ่านไปมาของคนภายในบ้าน เพื่อที่ผู้สูงอายุจะสามารถเชื่อมต่อไปใช้งานห้องต่างๆ ได้อย่างสะดวก อีกทั้งคนในบ้านจะได้สามารถดูแลผู้สูงอายุได้อย่างทั่วถึง

ตำแหน่งของห้องนอนควรอยู่ในจุดที่รับแสงธรรมชาติได้สองด้าน เพื่อเป็นการเปิดห้องให้โล่ง โปร่ง สบาย บานหน้าต่างต้องออกแบบให้สูงกว่าเอว หรือที่ความสูงประมาณ 1 ฟุต ป้องกันการพลัดตกลงมาจากห้องนอน ส่วนเตียงไม่ควรมีขอบมุมที่แหลม และไม่จำเป็นต้องสูงมาก ควรวางเข้ามุมเพื่อป้องกันการกลิ้งตกเตียง และต้องเหลือพื้นที่ปลายเตียงและข้างเตียงไว้สำหรับเดินเข้าออกห้องได้อย่างง่ายดายด้วย ซึ่งถ้าจะให้ดีสามารถติดตั้งราวจับตามจุดสำคัญในห้องได้ถ้าห้องมีขนาดกว้างมาก


5. ห้องน้ำต้องปลอดภัย

ส่วนที่ต้องระมัดระวังที่สุด คือ ห้องน้ำ เพราะมักเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ดังนั้นตำแหน่งห้องน้ำควรอยู่ใกล้กับห้องนอนแต่ไม่อยู่ในห้อง เพื่อให้เข้าไปช่วยเหลือได้ง่าย และควรติดตั้งกระดิ่ง หรือ โทรศัพท์ภายในห้องน้ำที่สามารถขอความช่วยเหลือได้ในกรณีฉุกเฉิน ทางเข้าควรเลือกใช้ประตูบานเลื่อน เลี่ยงการทำธรณีประตูหรือการทำพื้นต่างระดับทั้งภายนอกและภายในห้อง

การจัดวางผังห้องน้ำควรออกแบบให้กระจายรอบด้าน เพื่อให้เกิดพื้นที่ว่างกลางห้องที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 150 เซนติเมตรสำหรับวีลแชร์ และภายในห้องน้ำจำเป็นต้องติดตั้งราวจับทุกจุดเพื่อให้ผู้สูงอายุพยุงตัว หรือเกาะจับได้สะดวก ป้องกันการลื่นหกล้ม

จะเห็นได้ว่าการสร้างบ้านรองรับวัยเกษียณนั้น นอกจากเรื่องความสวยงามแล้ว ยังมีรายละเอียดเรื่องความปลอดภัย และการวางแผนป้องกันเหตุการณ์ไม่คาดฝันเอาไว้ล่วงหน้าอีกด้วย ดังนั้นจึงต้องใส่ใจในทุกขั้นตอน และต้องเลือกบริษัทรับสร้างบ้านชั้นเดียว ที่มีประสบการณ์ในการสร้างบ้านเพื่อวัยเกษียณ เพื่อให้ได้บ้านที่ตรงกับความต้องการ มีคุณภาพ ความปลอดภัย ผู้อยู่อาศัยสบายใจในระยะยาว

 

สนับสนุนบทความโดย

 

บริษัท โฟร์พัฒนา จำกัด

2 อาคารโฟร์พัฒนา ซ.ลาดปลาเค้า 10 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

โทรศัพท์ : 0 2940 3789

อีเมล : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. 

เว็บไซต์ : www.fourpattana.com 

 

 

 

 

สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

Home Builder Association

เลขที่ 2 ซอยลาดปลาเค้า 10 แขวงลาดพร้าว

เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

 : info@hba-th.org

 : 0-2570-0153,0-2940-2744

  : 0-2570-0154