การต่อเติมบ้านอยู่อาศัยกับคนไทยเป็นของคู่กันมาแต่ไหนแต่ไร เหตุเพราะชาวสยามเมืองยิ้มส่วนใหญ่มีหัวคิดในเชิงสร้างสรรค์ติดตัวมาแต่อ้อนแต่ออกแทบทุกคน อีกประการพวกเราชาวขวานทองนิยมชมชอบที่จะให้ลูกๆ หลายๆ พักรวมกันกับพ่อแม่ปู่ย่าตายาย อยู่ภายในบริเวณรั้วรอบเดียวกันส่งผลให้ต้องขยับขยายเนื้อที่บ้านเพิ่มขึ้นทุกระยะตามความเจริญเติบโตของสมาชิกในครอบครัว
ว่ากันว่าหมู่บ้านจัดสรรที่เห็นผุดขึ้นที่โน่นที่นี่ไม่เว้นแต่ละวันนั้นไม่ว่าจะตั้งอยู่ซอกมุมไหนของประเทศไทย มีผู้คนช่างสังเกตเคยจัดทำสถิติเอาไว้ว่าจะมีการตกแต่งต่อเติมกว่า 300% แทบทุกโปรเจ็กต์ หรือจะว่าไปทุกๆ หลังคาเรือนจะขยับขยายเนื้อที่เพิ่มอย่างน้อยๆ สามครั้งสามครา
ครั้งที่ 1 "นับตั้งแต่วันแรกที่โอนจะทุบพื้นที่จอดรถ ขยายหลังคาเทพื้นใหม่"
ครั้งที่ 2 "เมื่ออยู่ไปได้สักระยะปีสองปี จะทำการว่าจ้างผู้รับเหมา ต่อเติมห้องครัวออกไปทางด้านข้างหรือด้านหลัง"
ครั้งที่ 3 "เมื่อบุตรหลานแต่งงานแต่งการ พ่อแม่จะติดต่อสถาปนิกออกแบบห้องหอเป็นของขวัญ"
นี้ยังไม่นับรวมกรณีที่อยู่ๆ ไปหัวหน้าครอบครัว หรือคนเฒ่าคนแก่แข้งขาอ่อนแรงเดินขึ้นบันไดไม่ไหว จำเป็นต้องใช้พื้นที่ว่างๆ บริเวณขั้นล่างของบ้าน ตกแต่งดัดแปลงสำหรับเป็นที่หลับนอนเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งห้อง ว่าก็ว่าเถอะการต่อเติมทั้ง 3 ครั้ง 3 ครา ส่วนใหญ่มักจะผิดกฤเทศบัญญัติแทบทั้งนั้นและไม่มีใครห้ามใครในเรื่องนี้ได้หลอกนะ เพราะเข้าตำรา "ใช่เฉพาะเขาตัวเราก็เป็นเหมือนกัน" แม้คุณเองก็เถอะน่า เพียงทุกครั้งที่ทำการตกแต่งต่อเติมบ้านโปรดคำนึงถึงกฏกติกามารยาทอย่างน้อยๆ 3 ประการ
1. "ระเบียบเทศบัญญัติของรัฐ"
2. "ธรรมนูญข้อบังคับของหมู่บ้านและหรือของคอนโดฯ"
3. "ความเดือนร้อนรำคาญของเพื่อร่วมซอย"
อย่างแรกโปรดรำลึกเสมอว่า "กฏระเบียบเทศบัญญัติ" กองควบคุมอาคารเขากำหนดเรื่องการก่อสร้างและต่อเติม ทั้งบ้านเดี่ยว ทั้งบ้านแถวหรือทาวน์เฮ้าส์เอาไว้หลายประการ
กรณีบ้านเดี่ยวชั้นเดียวถึงสองหรือสามชั้นจะต้องเป็นไปตามหลักสำคัญ 5 - 6 ประเด็น ดังต่อไปนี้
1. จะต้องเว้นที่ว่าง 30%
2. หน้าต่างและริมระเบียง จะต้องห่างจากเขตที่ดินอย่างน้อยๆ 2 เมตร
3. ความสูงจะต้องไม่เกินสามชั้นและมีพื้นที่ไม่เกิน 300 เมตร
4. ต้องถอยร่นแนวจากศูนย์กลางถนนสาธารณะ 3 เมตร
5. ต้องอยู่ห่างจากอาคารอื่นไม่น้อยกว่า 4 เมตร (กรณ๊สูงไม่เกิน 9 เมตร) และ 6 เมตร (กรณีความสูงเกิน 9 เมตรขึ้นไป)
6. ความสูงต่อชั้น 2.60 เมตร
สำหรับทาวน์เฮ้าและตึกแถวนั้นมีระเบียบกฏเกณฑ์ 5 - 6 ประเด็น คือ
1. ต้องมีที่ว่างด้านหลังอาคาร 2 เมตร ด้านหน้าอาคาร 3 เมตร และข้างอาคารทั้ง 2 ด้าน 2 เมตร
2. จะต้องถอยร่นแนวอาคารจากศูนย์กลางสาธารณะ 6 เมตร กรณีไม่ติดถนนสาธารณะต้องมีที่ว่างหน้าอาคารไม่น้อยกว่า 6 เมตร
3. ก่อสร้างได้สูงไม่เกิน 3 ชั้น มีความสูงต่อชั้น 2.60 เมตร
4. ความกว้างของห้องนอนไม่น้อยกว่า 2.50 เมตร หรือไม่น้อยกว่า 8 ตารางเมตร ยาวไม่เกิน 24 เมตร
5. ความกว้างของอาคารจะต้องไม่น้อยกว่า 4 เมตร และยาวไม่เกิน 24 เมตร และมีพื้นที่ชั้นล่างไม่น้อยกว่า 24 ตร.ม
สำหรับการคำนึงถึงระเบียบอย่างที่ 2 คือ "ธรรมนุญข้อบังคับของหมู่บ้านและคอนโดฯ" ซึ่งถือเป็นกฏระเบียบการอยู่อาศัยร่วมกัน มีหลากหลายโครงการ ส่วนใหญ่สาระสำคัญในประเด็นหลักๆ มักจะคล้ายกันผมจะหยับยกตัวอย่างของโครงการหนึ่งให้ดู เขากำหนดกติกาเมื่อบ้านหลังใดทำการตแแต่งต่อเติมเอาไว้อย่างนี้ครับ
1. ห้ามทำงานในวันอาทิตย์หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์
2. ห้ามทำงานก่อนเวลา 08.00 น. และหลังเวลา 17.00 น.
3. ห้ามคนงานพักอาศัยภายในบ้านที่มีการตกแต่งต่อเติม
4. ห้ามวางวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างและทำงานบริเวณถนนและทางเท้า
5. ห้ามจอดรถบรรทุกวัสดุอุปกรณ์กีดขวางทางจราจร
6. ห้ามนำเศษวัสดุก่อสร้างและขยะกองทิ้งหรือพักรอบบริเวณทางเท้า
7. ห้ามตากเสื้อผ้าบนหรือนอกรั้วบ้าน
8. ห้ามคนงานผู้รับเหมานำสุนัขหรือสัตรว์เลี้ยงที่ก่อความรำคาญมาเลี้ยงในหมู่บ้าน
9. ห้ามคนงานของผู้รับเหมาดื่มสุราของมึนเมาในบริเวณบ้านที่ตกแต่งหรือต่อเติม ฯลฯ
ส่วนประการที่ 3 คือ "ความเดือดร้อนรำคาญของเพื่อร่วมซอย" ทุกครั้งที่ว่าจ้างผู้รับเหมาต่อเติมบ้านโปรดคำนึงและดูแลควบคุมในปัญหา หลักๆ 2 - 3 ประเดน ประเด็นต่อไปนี้ คือ
เรื่องแรกคือ "เสียง" การทุบ เจาะและไสไม้อย่าให้ดังเกินควรกรุณาหามาตรการป้องกัน ประเด็นที่สอง “ความสะอาด” ทั้งฝุ่นและเศษวัสดุก่อสร้างจะต้องหาหนทางกำจัดมิให้ลอยคละคลุ้งหรือปลิวว่อนไปสู่บ้านใกล้เรือนเคียง และเรื่องที่สาม คือ “ตำแหน่งที่ตั้งวางอุปกรณ์ปลูกสร้าง” ประเภทอิฐ หิน ปูน และทราย ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรจะเทกองอยู่บนถนนหรือทางเท้าเหมาะที่สุดต้องจัดเตรียมพื้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งในบริเวณรั้วบ้านของเราเองเป็นที่วางตั้ง ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพราะว่าถนนซอยส่วนใหญ่ มักจะแคบๆ ขืนเอาวัสดุอุปกรณ์ไปกองไว้การนำรถเข้าๆ ออกๆ ของเพื่อบ้านจะไม่สะดวกเท่าที่ควร อีกอย่างอาจจะเป็นอันตราย ต่อเด็กตัวเล็กๆ ที่กำลังอยู่ในวัยซุกซนอีกด้วย
แม้มาตรการป้องกันความเดือดร้อนรำคาญของเพื่อนร่วมซอย อันเนื่องมาจากการตกแต่งต่อเติมบ้านของเราไม่ได้มี บทบัญญัติเอาไว้อย่างชัดเจนทุกกรณี แต่ทางที่ถูกที่ควรก่อนตกลงมอบหมายให้ผู้รับเหมาลงมือดำเนินงาน ควรจะเดินไปเคาะประตูเพื่อนบ้านเพื่อบอกเล่าเก้าสิบให้รับรู้เสียก่อนจะเหมาะที่สุด
โดยอุปนิสัยของชาวสยามเมืองยิ้มล้วนมีจิตใจโอบอ้อมอารีแทบทุกคน ยิ่งกรณีบอกกล่าวล่วงหน้าไว้ตั้งแต่เสียตั้งแต่ยัง ไม่เกิดเรื่องราว หนักนิดเบาหน่อยอภัยกันได้อยู่แล้ว ในบางประเทศเขาถือเป็นเรื่องใหญ่มีกฎหมายคุมเข้มกวดขันและเอาจริงเอาจัง อย่างเช่น ออสเตรเลีย อย่าว่าแต่เฉพาะต่อเติมบ้านเลย แม้ตัดต้นไม้ในบริเวณรั้วบ้านยังต้องขออนุญาตต่อเทศบาล และขอประชามติเห็นชอบจากเพื่อนร่วมซอยเสียก่อนจึงจะตัดโค่นได้สักต้น บอกเล่าเก้าสิบให้รู้กันอย่างนี้แล้ว ใครยังขืนต่อเติมบ้านผิดกฎหมายหรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้พักอาศัยข้างเคียงอยู่อีกล่ะก็ อาจจะถูกเพื่อนร่วมซอยฟ้องร้องดำเนินคดีเรียกค่าเสียหายเอานะจะบอกให้
-------
ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน " รับสร้างบ้านและวัสดุ EXPO 2019 "
วันที่ 29 ส.ค. - 1 ก.ย. 2562 IMPACT HALL 6 เมืองทองธานี
⭐️ อยากสร้างบ้านห้ามพลาด !! !!
⭐️ มางานเดียวคุ้ม "รับสร้างบ้านและวัสดุ Expo 2019”
⭐️ ลงทะเบียนเข้างาน รับแบบบ้านฟรี 50 แบบ
คลิก >> https://www.hba-th.org/home-expo-2019.html
งานที่รวมบริษัทรับสร้างบ้า
สัมผัสโมเดลแบบบ้านทุกซอกทุ
มีให้เลือกทุกระดับราคาตั้ง
═══════════════════════
ภายในงานพบกับ
⭐️โปรโมชั่นส่วนลดจากบริษัทรั
⭐️ จองบ้านในงานลุ้นรับทองคำทุ
═══════════════════════
งานรับสร้างบ้านและวัสดุ Expo 2019
⭐️ 29 สิงหาคม - 1 กันยายน 2562
⭐️ IMPACT HALL 6 เมืองทองธานี
ลงทะเบียนเข้างาน รับแบบบ้านฟรี 50 แบบ
คลิก >> https://www.hba-th.org/home-expo-2019.html