บริษัท รับสร้างบ้าน

บริษัทรับสร้างบ้าน รับสร้างบ้าน สร้างบ้าน สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

สร้างบ้านมั่นใจภายใต้มาตรฐานสมาคม


สร้างบ้าน

 

บ้านหลังหนึ่งจะสมบูรณ์ดังฝัน นอกจากความสวยงามตามแบบที่คัดสรรแล้ว ต้องสร้างบ้านคุณภาพถูกต้องตามมาตรฐานด้วย ซึ่งมาตรฐานต่าง ๆ สำหรับบ้านนั้น ก็เพื่อให้บ้านมีความแข็งแรง ปลอดภัย คงทน และไม่ผิดต่อกฎหมาย ซึ่งสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้านได้มีการรวบรวมมาตรฐานสำหรับบ้าน เพื่อเป็นแนวทางในการ สร้างบ้านอย่างมั่นใจ ติดตามได้ในบทความนี้

 

1. มาตรฐานทางกฎหมาย

แบบบ้านจะสวยเก๋ โมเดิร์น สร้างด้วยวัสดุเกรดพรีเมี่ยมขนาดไหน หากสร้างไม่ถูกตามมาตรฐานกฎหมายแห่งราชอาณาจักรไทย ก็เสี่ยงถูกแจ้งให้รื้อถอน ดังนั้นควรศึกษามาตรฐานข้อนี้เป็นอันดับแรกก่อนเริ่มสร้างบ้าน การกำหนดมาตรฐานตามกฎหมายในการก่อสร้างบ้านมี 4 เรื่อง คือ

1.1 มาตรฐานตามกฎหมายผังเมือง

เป็นส่วนที่กำหนดว่าพื้นที่ไหนสามารถสร้างอะไรได้บ้าง เช่น พื้นที่เพื่ออยู่อาศัย พื้นที่อุตสาหกรรม พื้นที่เกษตรกรรม รวมถึงยังกำหนดเรื่องความสูงของอาคารไว้ด้วยว่าแต่ละพื้นที่นั้นสามารถสร้างอาคารสูงได้แค่ไหน หากสร้างไม่ถูกตามกฎหมายผังเมือง ก็ถูกร้องเรียนให้ต้องรื้อถอนได้

1.2 มาตรฐานตามกฎหมายควบคุมอาคาร

กฎหมายควบคุมอาคาร เกิดขึ้นเพื่อควบคุมเรื่องความปลอดภัย ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียด เช่น ระยะห่าง ระย่นระหว่างตัวอาคาร พื้นที่ว่างปราศจากสิ่งปกคลุมต่างๆ หรือขนาดของส่วนต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของบ้าน ซึ่งจะถูกกำหนดให้มีขนาดและตำแหน่งการวางอย่างไรให้มีมาตรฐานและมีความปลอดภัย

1.3 มาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวกับสัญญา

การสร้างบ้านเป็นโครงการระยะยาว ที่มีรายละเอียดมากมาย ดังนั้นสัญญาว่าจ้างจึงต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เป็นข้อตกลงและยอมรับกันทั้งสองฝ่าย ระหว่างผู้ว่าจ้าง (เจ้าของบ้าน) กับผู้รับจ้าง (บริษัทรับสร้างบ้าน) โดยในสัญญาจะมีกำหนดว่าที่ต้องมีและไม่ต้องมี โดยจะมีรายละเอียดกำหนดไว้อย่างชัดเจน หากมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาสามารถใช้สัญญานี้เรียกร้องทางกฎหมายได้

1.4 มาตรฐานตามกฎหมายความปลอดภัย

มาตรฐานที่ห้ามมองข้ามเลย คือ มาตรฐานในการก่อสร้างอาคาร ซึ่งจะเป็นเรื่องการควบคุมความปลอดภัย การใช้เครื่องจักร เครื่องมือต่างๆ ที่อาจรบกวนพื้นที่ข้างเคียง เช่น เสียง หรือฝุ่นละออง

2. มาตรฐานวิชาชีพ

ในการสร้างบ้านต้องเกี่ยวพันกับนักวิชาชีพที่เกี่ยวข้องมารับรอง คือ สถาปนิก ผู้รับผิดชอบออกแบบบ้าน ให้ตรงใจลูกค้าและต้องผ่านมาตรฐานและความปลอดภัย เพื่อให้นำไปยื่นขอก่อสร้างในลำดับต่อไปได้ และอีกหนึ่งมาตรฐานวิชาชีพ คือ วิศวกร ที่รับผิดชอบควบคุมงานก่อสร้างให้เป็นไปตามหลักวิศวกรรมความแข็งแรง เพื่อให้ได้บ้านที่สวยและแข็งแรง ปลอดภัย

3. มาตรฐานการก่อสร้างที่คนทั่วไปและสากลยอมรับ

• มาตรฐานสมาคมสถาปนิกสยาม คือ มาตรฐานด้านการออกแบบบ้าน ซึ่งควบคุมให้อาคารที่สร้างสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยและสะดวกสบาย

• มาตรฐานกรมโยธาธิการ คือ มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการก่อสร้างซึ่งกำหนด โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง เช่น มาตรฐานราวกันตก มาตรฐานทับหลังของหน้าต่าง เป็นต้น

• มาตรฐานตามวิศวกรรมสถาน เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับความแข็งแรงของโครงสร้างต่าง ๆ ซึ่งรวบรวมโดยวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย เพื่อทำให้การก่อสร้างเป็นไปตามมาตรฐาน และมีความแข็งแรงปลอดภัยทั้งในระหว่างการก่อสร้างและหลังจากที่อยู่อาศัยไปแล้ว

4. มาตรฐานที่เป็นไปตามวัสดุที่ใช้

วัสดุสร้างบ้านมีด้วยกันหลายชนิดหลายประเภท ดังนั้นจึงมีมาตรฐานย่อย แยกไปตามคุณสมบัติของวัสดุและข้อกำหนดวิธีการใช้ วิธีการติดตั้ง ดังนี้

4.1 มาตรฐานของคุณภาพวัสดุ มอก.

มอก คือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นมาตรฐานที่เป็นข้อกำหนดทางวิชาการ เพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตนำไปใช้ในควบคุมการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ ในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด หากวัสดุ ผ่าน มอก. ถือว่ามีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับได้

4.2 มาตรฐานคุณสมบัติของวัสดุที่เหมาะสมกับประเภทงาน

เป็นมาตรฐานที่กำหนดว่าวัสดุชนิดไหน ใช้อย่างไร และใช้กับงานแบบไหน เช่น หากใช้ผิดจะถือว่าผิดวัตถุประสงค์การใช้งาน และไม่ได้มาตรฐานตามคุณสมบัติของวัสดุนั้นๆ

4.3 มาตรฐานการติดตั้งของวัสดุ

การผลิตวัสดุก่อสร้างแต่ละชนิดออกมาวางจำหน่าย ผู้ผลิตจะต้องมีการทดสอบความสามารถในการใช้งาน แล้วจึงกำหนดคุณสมบัติวัสดุ การใช้ และวิธีการติดตั้งไว้อย่างชัดเจน ดังนั้นแม้ว่าวัสดุก่อสร้างนั้นผลิตมาได้มาตรฐาน แต่ติดตั้งผิด ก็จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานไม่ได้มาตรฐานตามที่กำหนด

 

5. มาตรฐานที่เป็นไปตามสัญญา

การสร้างบ้านควรจะมาพร้อมกับสัญญาที่เป็นลายลักษณ์ เพื่อเป็นหลักฐานข้อตกลงระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้รับจ้าง ดังนั้นสัญญาที่ใช่ร่วมกันต้องเป็นสัญญาที่ได้มาตรฐานด้วย จึงจะครอบคลุมการสร้างบ้านทั้งหมด โดยมีรายละเอียดแบ่งเป็นส่วนต่าง ๆ คือ

5.1 รูปแบบ ในสัญญาต้องกำหนดรูปแบบการสร้าง ขอบเขตงาน ขั้นตอนการก่อสร้าง ขนาดพื้นที่ใช้สอย ให้ชัดเจน

5.2 รายการวัสดุ (Spec) วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างมีหลายยี่ห้อ หลายรุ่น ซึ่งความแตกต่างมีผลต่อราคา และยังมีเรื่องของกลไกราคาที่มีการปรับขึ้นลงด้วย ดังนั้นจึงต้องกำหนดรายการวัสดุที่จะใช้ในการก่อสร้างให้ละเอียด เช่น ชนิด ยี่ห้อ รุ่น ขนาด สี ซึ่งจะทำให้การสร้างบ้านเป็นไปตามข้อตกลง หากมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิด สามารถนำสัญญามายืนยันได้

5.3 รายการ ในสัญญาการก่อสร้างนอกจากจะมีการกำหนดรูปแบบ และ Spec แล้ว จะต้องมีการกำหนดรายละเอียดขั้นตอนต่างๆ ไว้ตั้งแต่ต้นจนจบของการดำเนินงานก่อสร้าง

 

จะเห็นว่าการสร้างบ้านคุณภาพ ที่ได้มาตรฐาน สวยถูกใจตามแบบที่เลือก และเสร็จตามเวลาที่กำหนด เพราะยิ่งยืดเยื้อยิ่งเพิ่มภาระค่าใช้จ่าย และทำให้แผนชีวิตที่วางไว้คลาดเคลื่อนด้วยนั้น มีรายละเอียดปลีกย่อย และมีเรื่องของมาตรฐานเข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย แต่ปัญหานี้จะหมดไปหากว่าที่เจ้าของบ้าน ใช้เวลาคัดสรรบริษัทรับสร้างบ้านอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้ได้บริษัทรับสร้างบ้านที่เป็นตัวจริง สำหรับว่าที่เจ้าของบ้านท่านใดที่อยากได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างบ้าน หรืออยากรู้จักบริษัทรับสร้างบ้านที่มีมาตรฐาน สร้างบ้านคุณภาพ สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน เราพร้อมให้คำแนะนำและปรึกษาอย่างจริงใจ

 

สนับสนุนบทความโดย

สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน Home Builder Association

ที่อยู่ : 2 ซอยลาดปลาเค้า 10 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

โทรศัพท์ : 0-2570-0153,0-2940-2744

อีเมล : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

เว็บไซต์ : https://hba-th.org/  

สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

Home Builder Association

เลขที่ 2 ซอยลาดปลาเค้า 10 แขวงลาดพร้าว

เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

 : info@hba-th.org

 : 0-2570-0153,0-2940-2744

  : 0-2570-0154