บริษัท รับสร้างบ้าน

บริษัทรับสร้างบ้าน รับสร้างบ้าน สร้างบ้าน สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

รวมนวัตกรรมวัสดุสร้างบ้านปี 2022 ที่เหมาะกับการอยู่อาศัยระยะยาว

18
มี.ค.
2565

ในโลกธุรกิจยิ่งการแข่งขันไปไกลเท่าไหร่ ผลประโยชน์ย่อมตกอยู่กับผู้บริโภคเท่านั้น การหานวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อมาเป็นจุดขายดึงดูดลูกค้าย่อมเป็นทางรอดของในทุก ๆ ธุรกิจ งานรับสร้างบ้านก็เช่นกัน ต้องมีการอัปเดตนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการอยู่อาศัยและเทคโนโลยีอื่น ๆ หากใครที่กำลังมองหาบริษัทรับสร้างบ้านอยู่ สามารถเก็บเป็นข้อมูลไว้เพื่อพิจารณาวัสดุและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับบ้านของเราได้

 

 

ในโลกธุรกิจยิ่งการแข่งขันไปไกลเท่าไหร่ ผลประโยชน์ย่อมตกอยู่กับผู้บริโภคเท่านั้น การหานวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อมาเป็นจุดขายดึงดูดลูกค้าย่อมเป็นทางรอดของในทุก ๆ ธุรกิจ งานรับสร้างบ้านก็เช่นกัน ต้องมีการอัปเดตนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการอยู่อาศัยและเทคโนโลยีอื่น ๆ หากใครที่กำลังมองหาบริษัทรับสร้างบ้านอยู่ สามารถเก็บเป็นข้อมูลไว้เพื่อพิจารณาวัสดุและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับบ้านของเราได้

 

นวัตกรรมวัสดุสร้างบ้านปี 2022

ก่อสร้างที่เป็นมิตรกับโลกและสิ่งแวดล้อมยังเป็นหนึ่งในเทรนด์ที่สำคัญในแวดวงก่อสร้าง ปัจจุบันมีโครงการหรือนวัตกรรมหลายอย่างถูกสร้างสรรค์พัฒนามาเพื่อกู้โลก อย่างการรีโนเวทอาคารเก่า เพื่อสร้างพื้นที่ใช้งานใหม่ โดยไม่ต้องทุบอาคารเก่าทิ้ง แต่เปลี่ยนการนำเสนอพื้นที่ใหม่เพื่อลดการงานก่อสร้าง

 

 1. การก่อสร้างคือการคืนชีพด้วยการรีไซเคิลขยะเป็นวัสดุ

ในงานก่อสร้างต่างๆ แน่นอนว่าจะต้องมีขยะ เช่น ถุงบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งเมื่อนำนวัตกรรมเข้ามาเป็นโจทย์ จึงเกิดการนำเศษขณะมารีไซเคิลเป็น ถุง ย่าม ไปจนถึงอิฐบล็อก ซึ่ง 90% มีส่วนประกอบจากการรีไซเคิลขยะ จากงานก่อสร้างซึ่งใช้เวลาเพียง 24 ชั่วโมง ในการผลิต และปล่อยคาร์บอนเพียง 1 ใน 10 ของอิฐบล็อกธรรมดา โดยมีรูปร่าง น้ำหนัก และการใช้งานที่เหมือนกัน คุณสมบัติแข็งแรงทนทาน สามารถนำมาสร้างอาคารให้อยู่ทนนานหรือผลิตเฟอร์นิเจอร์ใช้งาน ลดทั้งขยะทั้งต้นทุนการก่อสร้าง

 

 2. การก่อสร้างที่ลดการสร้างขยะด้วยนวัตกรรม BIM

เพื่อตัดปัญหาวัสดุเกินจากการคำนวณ ปัจจุบันสถาปนิก วิศวกร นำนวัตกรรมที่เรียกว่า Building Information Modeling หรือ BIM เข้ามาวางแผนการก่อสร้าง ประเมินความเป็นไปได้ของงานโครงสร้างและงานระบบ ไปจนถึงสร้างแบบจำลองเสมือนได้อย่างแม่นยำ หากแบบก่อสร้างมีการแก้ไข โปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็จะประมวลผลข้อมูลและอัปเดตรายละเอียดส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยอัตโนมัติ เจ้าของบ้าน หรือ บริษัทรับสร้างบ้าน จึงสามารถคำนวณจำนวนวัสดุ ประมาณราคา คุมงบประมาณและระยะเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนและเวลาจากความผิดพลาดด้วยฝีมือมนุษย์ รวมถึงลดปริมาณขยะเหลือทิ้ง


 3. การก่อสร้างฉับไวในรูปแบบโดดเด่นด้วย 3D Printing

ต้องยอมรับว่างานก่อสร้างที่ส่งมอบไว ย่อมคุมค่าใช้จ่ายทั้งในเรื่องค่าแรง ค่าเก็บรักษาวัสดุ ซึ่งมีอีกหนึ่งนวัตกรรมที่สามารถตอบโจทย์การคุมงบนี้ได้คือ นวัตกรรมที่เรียกว่า 3D Printing สถาปนิกสามารถออกแบบรูปทรงอิสระได้เต็มที่ โดยไม่ถูกจำกัดด้วยเสาคานแบบการก่อสร้างทั่วไป โดยเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ สามารถขึ้นรูปวัตถุขนาดเล็ก เช่น เฟอร์นิเจอร์ ไปจนถึงอาคารขนาดใหญ่ โดยให้บริการทั้งการขึ้นรูป หรือวิจัยพัฒนาวัตถุดิบเพื่อการขึ้นรูป สำหรับลูกค้าที่มีเครื่องพิมพ์สามมิติอยู่แล้ว ปัจจุบันมีผู้ให้ความสนใจสร้างอาคารที่มีรูปแบบ Free form ด้วยเทคโนโลยี 3D Printing จำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลไปถึงการลดการใช้ปูน เพื่อสนับสนุนเทรนด์ Low-carbon ด้วย

 

 4. การก่อสร้างแบบ New Normal ด้วย Drone สำรวจและเก็บข้อมูล

ยุคที่ไม่ว่ากิจการใดๆ ลดการสัมผัส ลดจำนวนแรงงานคน Drone จึงถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในงานก่อสร้าง ตั้งแต่การเก็บข้อมูลสำรวจพื้นที่ซึ่งดำเนินการได้ทั่วถึง ข้อมูลที่ได้รับง่ายต่อการวางแผนการก่อสร้าง ควบคุมคุณภาพ และติดตามความคืบหน้าจนจบกระบวนการ สำหรับประเทศไทยได้มีการนำโดรนเข้ามาใช้วางแผนและควบคุมการก่อสร้างแล้วประมวลผลโดยใช้ AR (Augmented Reality) ผสานเอาโลกเสมือนเข้าสู่หน้างานจริง จำลองให้เห็นงานออกแบบบนหน้างานจริง วัดขนาดวัตถุโดยไม่ต้องสัมผัส ไปจนถึงจำลองสถานการณ์เพื่อฝึกอบรมอย่างปลอดภัย

 

 5. การก่อสร้างจากชิ้นส่วนสำเร็จรูป

แน่นอนว่าหากบ้านของเรามีการเลือกใช้ชิ้นส่วนก่อสร้างบ้านเป็นแบบสำเร็จรูป เราก็สามารถวางใจได้ในความเป็นมาตรฐานการควบคุมการผลิตเพื่อบ้านที่ปลอดภัย แต่ชิ้นส่วนสำเร็จรูปยังมีข้อดีในแง่หน้างานก่อสร้างอีกด้วย คือไม่สร้างขยะ ประหยัดเวลาและต้นทุน ลดแรงงาน ลดความผิดพลาดจากแรงงานคน ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทรับสร้างบ้านหลายโครงการเลือกใช้ชิ้นส่วนสำเร็จรูป เพราะเป็นนวัตกรรมที่เข้าถึงง่ายผ่านการควบคุมคุณภาพมาจากโรงงานแล้ว

 

 6. การก่อสร้างอย่างปลอดภัยด้วยนวัตกรรมที่หลากหลาย

เพื่อเป็นการลดอัตราความสูญเสีย หรือเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน จึงเกิดการนำนวัตกรรมเข้ามาปรับใช้ เพื่อเป็นอุปกรณ์เฉพาะสำหรับงานก่อสร้าง เช่น

  • Smart Hard Hat จับคลื่นสมองและปลุกผู้สวมใส่ก่อนเกิดการหลับใน
  • AR Safety Goggles แจ้งเตือนผู้สวมใส่ไม่ให้ตกจากขอบพื้นที่
  • Smart Monitor สัมผัสการรั่วไหลของแก๊ส และแจ้งเตือน
  • Smart Watch ผู้สวมใส่เห็นประสิทธิภาพของร่างกาย ป้องกันการทำงานหักโหม
  • Power Gloves ถุงมือที่เพิ่มความแข็งแรงและความคล่องแคล่วแก่ผู้สวมใส่
  • Smart Boots มีเซ็นเซอร์ตรวจจับและแจ้งเตือนก่อนการชนปะทะ
  • Headsets ลดมลภาวะทางเสียง

 

นวัตกรรมเป็นเทคโนโลยีที่หากบริษัทรับสร้างบ้านใดหยิบขึ้นมาเพื่อดึงความสนใจจากลูกค้าได้ ก็สามารถสร้างความประทับใจไปได้ขั้นหนึ่ง มากกว่าการนำมาปรับใช้เพื่อให้บ้านของเราโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ทันสมัยแล้ว นวัตกรรมต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นก็สนับสนุนการก่อสร้างที่สอดคล้องกับการรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อการอยู่อาศัยระยะยาว ซึ่งเรื่องการสร้างที่อยู่อาศัยแบบไม่สร้างมลภาวะ ขยะ ก็ยังเป็นเรื่องใหญ่ถึงแม้ว่าจะอยู่ในยุคที่ต้องเฝ้าระวังการระบาดของเชื้อโรคก็ตาม

 

สนับสนุนบทความโดย

กลุ่มบิวท์ ทู บิวด์

8 ซอยอ่อนนุช 46 ถนนอ่อนนุช แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

โทรศัพท์ : 0 2721 3999

เว็บไซต์ : www.btb.co.th 

 

สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

Home Builder Association

เลขที่ 2 ซอยลาดปลาเค้า 10 แขวงลาดพร้าว

เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

 : info@hba-th.org

 : 0-2570-0153,0-2940-2744

  : 0-2570-0154