การสร้างบ้านเพื่ออยู่อาศัยในระยะยาว นอกจากการคำนึงถึงปัจจัยความต้องการของผู้อยู่อาศัยเป็นอันดับต้นๆ รวมถึงงบประมาณ และแบบที่เข้ากับไลฟ์สไตล์ผู้อยู่อาศัยแล้ว การออกแบบและการเลือกใช้วัสดุให้เข้ากับภูมิอากาศของพื้นที่ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม
เคล็ดลับออกแบบบ้านคลายร้อน
1.ลดความร้อนบริเวณหลังคาและฝ้าเพดาน
ถือเป็นส่วนหน้าด่านของบ้านที่รับแสงแดด ดังนั้นการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมและการออกแบบองศาการตกกระทบของแสงจึงสำคัญ โดยมีรายละเอียดดังนี้
• เลือกหลังคาทรงสูง เช่น ทรงจั่ว ทรงปั้นหยา ทรงมะนิลา ช่วยระบายความร้อน
• เลือกใช้วัสดุหลังคาที่ช่วยสะท้อนหรือป้องกันความร้อน
• ออกแบบมุมหลังคาให้สามารถมุงได้ในมุม 45 องศา เพื่อช่วยลดรังสีความร้อนสู่ฝ้าเพดาน
• ติดตั้งฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา
• เลือกใช้ฝ้าที่มีคุณสมบัติระบายอากาศได้ดี
• ออกแบบบ้านให้มีช่องเปิดระบายอากาศ
• ยกระดับฝ้าเพดานเพื่อระบายความร้อนออกทางช่องระบายอากาศหรือช่องเปิดใต้หลังคา
2. ลดความร้อนบริเวณผนัง
• การลดความร้อนบริเวณผนัง ช่วยให้บรรยากาศในบ้านเย็นลงและลดการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยสามารถทำได้ดังนี้
• เลือกใช้วัสดุผนังที่สามารถกันความร้อนได้
• ผนังภายในบ้านเลือกแบบที่มีมวลน้อยและสีอ่อน เพื่อลดดูดซับความร้อน
• ผนังภายนอกบ้านเลือกแบบที่มีผิวมัน สีอ่อน และมีค่าการจุความร้อนต่ำ
• เลือกใช้แผงหรือระแนงไม้เป็นเกราะกันความร้อนกระทบผนังโดยตรง
• ปลูกต้นไม้ หรือไม้เลื้อยกันแดด เพื่อป้องกันความร้อน
3. หน้าต่างบ้านช่วยลดร้อน
• ลดความร้อนจากหน้าต่างโดยเลือกใช้กระจกกันความร้อน
• ใช้ขนาดความสูงของหน้าต่างให้พอดีกับความสูงของเก้าอี้หรือเตียง เพื่อให้ลมพัดผ่านพอดี และไม่ว่างเฟอร์นิเจอร์ขวางหรือบังลม
• ทำช่องแสงบนหน้าต่างชั้นล่างของบ้าน เพื่อให้ได้รับแสงธรรมชาติ ลดไอร้อนจากการเปิดไฟ
• ควรวางตำแหน่งหน้าต่างไว้ในห้องให้มีอย่างน้อย 2 ด้านเพื่อให้ลมระบายออกได้ดี
• หน้าต่างแบบบ้านเลื่อนเปิด สามารถรับลมได้ดีกว่าหน้าต่างแบบบานเปิดออก หรือบานเกร็ด
4. ออกแบบบ้านให้เหมาะสมกับทิศทางลมและแดด
เจ้าของบ้านที่ต้แองการสร้างบ้านอยู่เอง สามารถลดปัญหาบ้านร้อนในระยะยาวได้ โดยเริ่มต้นตั้งแต่ขั้นตอนของการออกแบบบ้านให้สอดคล้องกับทิศทางแสง และลม ของพื้นที่ที่จะสร้างบ้าน โดยดูทิศทางของบ้านและตำแหน่งต่างๆ ดังนี้
• ทิศเหนือ และ ทิศใต้ เหมาะสำหรับกำหนดให้เป็นพื้นที่บริเวณหน้าบ้าน หรือหลังบ้าน เพราะมีลมพัดผ่านตลอด โดยหากดูจากวิถีการสร้างบ้านของคนไทยจากอดีตถึงปัจจุบันจะพบว่านิยมสร้างบ้านโดยหันด้านหน้าไปทางทิศใต้ เพราะมีลมโปรกตลอดปี และเมื่อเปิดประตูหน้าต่าง ก็จะช่วยให้อากาศถ่ายเทได้ดีด้วย ที่สำคัญแม้เป็นฤดูร้อน บ้านก็ยังเย็นได้
• ทิศตะวันออก และ ทิศตะวันตก เหมาะสำหรับวางแปลนให้เป็นส่วนองห้องน้ำ หรือ ห้องซักล้าง ห้องที่เกี่ยวข้องกับน้ำและความชื้น จะช่วยลดอุณหภูมิในบ้านจากความร้อนของแสงแดด และทำให้บริเวณซักล้าง หรือห้องน้ำ ไม่สะสมความชื้นอีกด้วย
• นอกจากนี้การวางตำแหน่งสำหรับห้องรับแขก ห้องนอน ก็ไม่ควรอยู่ในทิศตะวันตก เพราะจะรับแสงแดดตลอดช่วงบ่าย ทำให้บ้านกักเก็บความร้อนวนเวียนในบ้านจนถึงกลางคืน
5. พื้นเย็นลดความร้อนในบ้าน
บ้านร้อนเลี่ยงได้ หากการออกแบบบ้านนั้นมีการกำหนดการเลือกใช้วัสดุปูพื้นที่ช่วยในเรื่องของการกักเก็บความเย็น และระบายความร้อนได้ดี อย่างกระเบื้องที่มีคุณสมบัติระบายร้อนเร็ว พื้นหินอ่อน หินแกรนิต หรือพื้นปูนดิบสไตล์ loft เหล่านี้จะช่วยลดอุณหภูมิภายในบ้านได้อย่างดี
6. จัดสรรบ้านให้มีพื้นที่อเนกประสงค์และพื้นที่สีเขียว
บ้านที่มีพื้นที่กึ่งเปิด พื้นที่ที่ลมสามารถพัดผ่านได้ดี เช่นระเบียงบ้าน ชานบ้าน ใต้ถุน หรือลานส่วนกลางเพื่อให้ครอบครัวสามารถใช้พักผ่อนหรือทำกิจกรรมได้ตลอดวัน
รวมถึงการมีพื้นที่สีเขียว ที่ช่วยสร้างความผ่อนคลายให้ผู้พักอาศัย จะช่วยให้บ้านนั้นเป็นพื้นที่ที่น่าอยู่ยิ่งขึ้น โดยการแบ่งพื้นที่สำหรับการปลูกต้นไม้ สร้างพื้นีท่สีเขียว อาจสัดส่วน 20% ของพื้นที่ทั้งหมดเพื่อปลูกต้นไม้ แต่ต้องระวังไม่ให้ต้นไม้อยู่ตำแหน่งที่บังทิศทางลม นอกจากนี้บริเวณพื้นที่โล่งของบ้านอาจปลูกหญ้าคลุมเพื่อเก็บความชื้น ลดการสะท้อนของแสดงแดด
7. ลดร้อนด้วยแบบรั้ว
รั้วบ้านเป็นอีกองค์ประกอบสำคัญ ที่มีผลต่อความร้อนของตัวบ้าน การเลือกแบบรั้วให้ช่วยเสริมบ้านเย็น เจ้าของบ้านควรเลือกรั้วแบบโปร่ง เพื่อเปิดรับเส้นทางลมจากภายนอกสู่พื้นที่รอบบ้าน ทำให้อากาศภายในพื้นที่รอบบ้านมีการหมุนเวียน ถ่ายเทได้ดีขึ้น
การออกแบบบ้านเย็นให้น่าอยู่ในทุกช่วงเวลา การวางแผนที่ดีก่อนสร้างบ้าน และเริ่มคำนึงถึงความสำคัญของส่วนต่างๆ ตั้งแต่ในขั้นตอนการออกแบบ จะช่วยให้เจ้าของบ้านไม่ต้องเหนื่อยในภายหลัง และบ้านนั้นจะอยู่ได้อย่างเย็นสบายในอนาคต โดยไม่ต้องซ่อมแซม เปลี่ยนแบบ หรือหาตัวช่วยอื่นในภายหลัง
สนับสนุนบทความโดย
107-115 ถ.สี่พระยา บางรัก กรุงเทพฯ 10500
โทรศัพท์ : 0 2237 3781
อีเมล์ : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
เว็บไซต์ : www.seacon.co.th