บริษัท รับสร้างบ้าน

บริษัทรับสร้างบ้าน รับสร้างบ้าน สร้างบ้าน สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

บ้านเพื่อผู้สูงอายุ ออกแบบอย่างไรให้อยู่สบายและปลอดภัย

16
พ.ย.
2563

 

 

การสร้างบ้านให้อยู่ดีมีคุณภาพ ต้องตอบโจทย์ความต้องการของสมาชิกทุกคน โดยเฉพาะบ้านที่มีผู้สูงอายุซึ่งมีข้อจำกัดทางสุขภาพร่างกายแตกต่างจากวัยอื่นๆ การออกแบบบ้านจึงควรสอดคล้องกับลักษณะความจำเป็นของการอยู่อาศัย เพื่อให้สะดวกสบาย ปลอดภัย และลดความเสี่ยงต่างๆ มากที่สุด

ปัจจัยควรคำนึงเมื่อออกแบบบ้านเพื่อผู้สูงอายุ

• ความสามารถในป้องกันและลดอุบัติหตุต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้

• เอื้อต่อการใช้ชีวิตได้อย่างง่ายและสะดวกสบายมากที่สุด

• ช่วยเสริมให้สุขภาพกาย-ใจ ของผู้สูงอายุให้ดีขึ้น ทำให้สามารถอยู่อาศัยได้อย่างปลอดภัยนทุกเวลา

การออกแบบส่วนต่างๆ ของบ้านเพื่อผู้สูงอายุ

1. ห้องนอน

ห้องนอนผู้สูงอายุ ควรออกแบบและจัดตำแหน่งให้อยู่บริเวณชั้นล่างของบ้าน เพื่อสะดวกและปลอดภัยในการใช้พื้นที่ส่วนต่างๆ ของบ้าน โดยภายในห้องควรมีลักษณะต่างๆ ดังนี้

• มีพื้นที่ภายในห้องอย่างน้อย 10-12 ตร.ม. แบบไม่รวมส่วนของห้องน้ำ

• ติดตั้งระบบไฟส่องสว่างนำทางอัตโนมัติเพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากการเดินสะดุดหกล้มระหว่างทางไปเข้าห้องน้ำ

• ควรปูพื้นด้วยวัสดุที่มีคุณสมบัติช่วยดูดซับแรงกระแทก และลดความรุนแรงหากเกิดการหกล้ม

• มีความเป็นส่วนตัว แยกออกเป็นสัดส่วนจากพื้นที่ส่วนกลางหรือห้องอื่นๆ ของบ้าน

• ภายในห้องมีพื้นที่กว้างพอที่รถเข็นสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างสะดวก

• มีพื้นที่รองรับการทำงานอดิเรก หรือ พักผ่อนส่วนตัว

2. ห้องน้ำ

การออกแบบห้องน้ำให้เอื้อต่อการใช้งานของผู้สูงอายุ ไม่ได้มีเพียงความสวยงาม หรือการใช้สอยที่สะดวกสบายเท่านั้น แต่ยังต้องเน้นที่ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ ด้วยควรมีลักษณะของห้องน้ำดังนี้

• ห้องน้ำควรมีความกว้างประมาณ 1.5-2 ม.

• แยกพื้นที่ระหว่างส่วนเปียกกับส่วนแห้งอย่างชัดเจน แต่ไม่ควรมีพื้นที่ต่างระดับ

• พื้นผิวปูพื้นควรเลือกใช้แบบที่ไม่ลื่น

• ส่วนของพื้นที่เปียกควรติดราวจับหรือราวทรงตัวเพื่อใช้สำหรับการประคองตัว ช่วยในการลุก นั่ง และควรมีที่นั่งสำหรับอาบน้ำ แปรงฟัน หรือแต่งตัว

• มีอุปกรณ์ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เพื่อให้สมาชิกคนอื่นๆ สามารถเข้ามาช่วยเหลือได้ทันท่วงที

• ประตูห้องน้ำควรใช้เป็นบานเลื่อนหรือแบบเปิดออก

• อ่างล้างหน้าสำหรับผู้สูงอายุที่ใช้รถ Wheelchair ควรมีลักษณะโค้งด้านหน้า มีพื้นที่ว่างใต้อ่าง

3. ห้องนั่งเล่น

การออกแบบและตกแต่งห้องนั่งเล่นในบ้านที่มีผู้สูงอายุ ควรมีการจัดวางเฟอร์นิเจอร์และของใช้ต่างๆ อย่างเป็นระเบียบ ไม่ควรมีสิ่งกีดขวางที่อาจก่อให้เกิดอันตรายกับผู้สูงอายุได้ โดยควรตกแต่งดังนี้

• ไม่จัดวางเฟอร์นิเจอร์กีดขวางทางเดิน และเลือกเฟอร์นิเจอร์แบบที่มีเหลี่ยมมุมน้อย ฐานตั้งต้องมั่นคง ไม่เป็นล้อเลื่อน

• มีการติดตั้งราวจับสำหรับประคองตัวเดิน หรือยึดเหนี่ยวเมื่อจะเปลี่ยนอิริยาบท

• หน้าต่างเลือกใช้เป็นแบบบานใหญ่ มีความสูงจากพื้นประมาณ 50 ชม. เพื่อให้สามารถทอดสายตามองเห็นวิวภายนอกได้ชัดเจน

• สวิตช์ไฟในห้องนั่งเล่นควรมีความสูงจากพื้นประมาณ 90 ซม. ส่วนปลั๊กควรสูงประมาณ 45 ชม.

4. ห้องครัว

เป็นหนึ่งพื้นที่ใช้งานที่มีอุปกรณ์ต่างๆ มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อผู้สูงอายุ หากการจัดวางตำแหน่งไม่เอื้อต่อความสะดวกและปลอดภัย ดังนั้นการจัดวางตำแหน่งต่างๆ และขนาดความสูงของพื้นที่ใช้งานจึงต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก

• พื้นที่ห้องครัว ควรมีความกว้างขวางพอสำหรับรถเข็น หรือการใช้งานอย่างคล่องตัว

• ไม่จัดวางสิ่งของกีดขวางพื้นที่ทางเดิน

• ส่วนล้างควรอยู่ตำแหน่งที่ไม่ได้เดินผ่านบ่อย เพื่อป้องกันการลื้นล้มกรณีที่มีน้ำกระเด็นลงพื้น

• เคาน์เตอร์ควรมีความสูงที่พอดีกับความสูงของผู้สูงอายุ ให้สามารถใช้งานได้สะดวกโดยไม่ต้องเขย่งหรือก้มมากเดินไป

• เลือกใช้เตาที่มีระบบความปลอดภัยสูง

• ตู้เย็นหรือลิ้นชักในครัว ควรติดตั้งให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อที่ผู้สูงอายุจะได้ไม่ต้องก้มๆ เงยๆ มากเกินไป

• พื้นที่ภายในห้องครัวควรติดตั้งระบบระบายอากาศไว้อย่างดี

 

 

5. ประตู- หน้าต่าง

• ส่วนของประตูควรมีความกว้างอย่างน้อย 90 ซม. และกว้างพอที่รถเข็นสามารถลอดผ่านได้

• ลักษณะบานประตูควรเป็นแบบเปิดออก หรือแบบบานเลื่อน เพื่อสะดวกและปลอดภัยเมื่อใช้งาน

• มือจับประตูควรเป็นแบบก้านโยก หรือแกนผลัก เพื่อความสะดวกในการใช้งาน

• หน้าต่างบ้านที่มีผู้สูงอายุควรมีขนาดเหมาะสม เปิดรับแสงธรรมชาติได้อย่างดี สามารถมองเห็นวิวภายนอกได้

6. บันได

สำหรับบ้านที่ห้องผู้สูงอายุไม่ได้อยู่ชั้นล่าง หรือมีความจำเป็นที่ผู้สูงอายุต้องใช้พื้นที่ชั่นบน ควรมีการออกแบบบันไดให้เหมาะสมกับการใช้งานดังนี้

• ตัวบันไดควรมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1.5 ม. และหากบันไดมีความสูง ควรต้องมีชานพักเป็นระยะๆ

• ขั้นบันไดควรมีความสูงสำหรับแต่ละขั้นไม่เกิน 15 ซม. และมีความกว้างอย่างน้อย 30 ซม. หรือมีขนาดที่วางเท้าได้เต็มเท้า

• พื้นบันไดควรปูด้วยวัสดุที่ไม่ทำให้ลื่น และไม่ควรขัดเงาจนทำให้มีความลื่นเพราะอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

• ราวจับควรมีความมั่นคงแข็งแรง ได้มาตรฐาน สามารถจับได้อย่างถนัดมือ เมื่อบ้านสร้างแล้วก็ควรมีการตรวจเช็กราวบันไดให้สามารถใช้งานได้ดีเสมอ

7. ทางเดิน-ทางลาด-พื้น

• บ้านที่มีผู้สูงอายุ ควรมีการออกแบบพื้นบ้านให้เรียบเสมอกัน ไม่ควรยกพื้นต่างระดับ และต้องไม่เรียบเกินไป

• บริเวณทางเดินควรมีแสงสว่างเพียงพอ และเป็นระบบเปิด-ปิด อัตโนมัติ

• มีราวจับทั้งพื้นที่ที่เป็นทางเดิน ทางลาด และทั่วบริเวณบ้าน เพื่อเป็นที่ยึดจับ สร้างความปลอดภัยแก่ผู้สูงอายุ

• ผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็น ในพื้นที่บ้านควรมีทางลาดให้ขึ้นลงสะดวก ไม่ชันจนเกินไป

 

ด้วยข้อจำกัดทางร่างกายที่มีผลทำให้การใช้ชีวิตมีประสิทธิภาพน้อยกว่าวัยหนุ่มสาว ดังนั้นการสร้างบ้านที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตและสะดวกสบายแม้ร่างกายไม่อำนวย จะช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีความสุข และอุ่นใจเมื่อพักอาศัยในบ้านที่ให้ความสำคัญและออกแบบเพื่อผู้สูงอายุโดยเฉพาะ

 

สนับสนุนบทความโดย

บริษัท ซีคอน จำกัด

ที่อยู่ : 107-115 ถ.สี่พระยา แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กทม. 10500

โทรศัพท์ : 0 2237 2900

อีเมล์ : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

เว็บไซต์ : www.seacon.co.th

 

สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

Home Builder Association

เลขที่ 2 ซอยลาดปลาเค้า 10 แขวงลาดพร้าว

เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

 : info@hba-th.org

 : 0-2570-0153,0-2940-2744

  : 0-2570-0154