บริษัท รับสร้างบ้าน

บริษัทรับสร้างบ้าน รับสร้างบ้าน สร้างบ้าน สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

เทคนิคสร้างบ้านน่าอยู่สู้ Covid-19

22
ต.ค.
2564

หลังจากที่เราได้รู้จักกับมหันตภัยโรคระบาด Covid-19 ที่คุกคามยาวนานกว่า 2 ปี ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตหลายอย่าง เช่น การรักษาระยะห่างระหว่างกัน การลดการสัมผัส การติดต่อผ่านออนไลน์แทนการพบปะหน้าตา อีกทั้งการดูแลความสะอาดที่เข้มข้นขึ้น ก่อให้เกิดเป็น New Normal ในการใช้ชีวิต รวมถึงในส่วนของบ้านที่เป็นปัจจัย 4 ก็เช่นกัน เกิดการปรับเปลี่ยนเพื่อรับมือกับโรคร้าย เกิดเป็นมาตรฐานใหม่ของบ้านในอนาคต ซึ่งสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน ได้รวมเทคนิคสร้างบ้านน่าอยู่สู้ Covid-19 เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ที่กำลังคิดจะสร้างบ้านในอนาคต


เทคนิคสร้างบ้านน่าอยู่สู้
Covid-19


1. สกัดเชื้อโรคตั้งแต่หน้าบ้าน

เชื้อโรคมีอยู่ทั่วไปตามสถานที่ต่างๆ ดังนั้นก่อนจะเข้าสู่ตัวบ้านอันเป็นสถานที่พักผ่อนที่แสนปลอดภัย จึงควรมีด่านสกัดเชื้อโรคให้สมาชิกได้ทำความสะอาดร่างกายขับไล่เชื้อโรคก่อนจะก้าวเท้าเข้าบ้าน เพื่อให้บ้านเป็นสถานที่ปลอดภัยและปลอดเชื้อ ซึ่งมีแนวทางการก่อสร้างออกแบบบ้าน ดังนี้

  • ออกแบบพื้นที่สำหรับทำความสะอาดและฆ่าเชื้อทุกอย่างก่อนนำเข้าภายในบ้าน โดยอาจทำเป็นพื้นที่เปิดโล่งสำหรับวางของ หรือเป็นตู้เก็บของแบบปิดมิดชิดที่ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของสมาชิกในบ้าน

  • จัดทำอ่างล้างมือที่บริเวณหน้าบ้าน หรือทางเข้าสวน เพื่อให้สมาชิกและผู้มาเยือนได้ล้างมือก่อนเข้าบ้าน

  • ออกแบบให้มีตู้เก็บรองเท้าและที่นั่งถอดรองเท้าไว้นอกบ้าน เพื่อให้ได้ทำความสะอาดรองเท้าฆ่าเชื้อโรคก่อนถอดเก็บ และไม่เป็นการนำพารองเท้าที่มีเชื้อโรคเข้าบ้าน

  • ออกแบบห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าเพื่อผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ใส่ออกนอกบ้านเป็นชุดสะอาดก่อนเข้าสู่ตัวบ้าน โดยอาจเป็นห้องที่เชื่อมต่อกับโซนซักล้างทำความสะอาด หรือเป็นเพียงตู้เก็บเสื้อผ้าที่เตรียมไว้สำหรับเปลี่ยนพร้อมตะกร้าแบบมีฝาปิดสำหรับใส่เสื้อผ้าใช้แล้ว หากสามารถจัดให้เป็นพื้นที่ที่ไม่ต้องผ่านเข้าตัวบ้านได้จะดียิ่ง

  • ออกแบบพื้นที่แยกเก็บสิ่งของที่ใช้นอกบ้าน เพื่อลดการนำสิ่งของไม่จำเป็นเข้าบ้าน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงการนำเชื้อโรคเข้าบ้านได้ด้วย เช่น รองเท้า ร่ม เสื้อคลุมทำงาน กระเป๋าผ้า โดยทำเป็นตู้ ชั้นและราวสำหรับเก็บของ

  • ปรับตำแหน่งห้องอาบน้ำให้ใกล้ทางเข้าบ้าน หรือผ่านตัวบ้านให้น้อยที่สุด เพื่อให้สมาชิกที่กลับมาจากไปข้างนอกได้ทำความสะอาดร่างกายและเปลี่ยนเสื้อผ้า อีกทั้งเป็นห้องน้ำสำหรับแขกซึ่งจะไม่ต้องเดินเข้าไปด้านในบ้าน

  • ออกแบบพื้นภายในบ้านให้สูงกว่าพื้นโถงทางเข้า 10-15เซนติเมตร เพื่อช่วยลดสิ่งสกปรกที่จะเข้ามาในบ้าน

  • ทำประตูกั้นแยกโซนที่เสี่ยงรับเชื้อจากภายนอก กับบริเวณภายในบ้านอีกชั้นเพื่อลดการกระจายเชื้อ และจัดให้มีช่องระบายอากาศหรือพัดลมดูดอากาศเพื่อช่วยหมุนเวียนอากาศในโถงทางเข้า


2. เลือกใช้อุปกรณ์ไร้มือสัมผัส

อย่างที่ทราบกันว่าเชื้อโรคจะติดต่อกันทางการสัมผัส ดังนั้นตั้งแต่เกิดโรค Covid-19 ระบาด ทำให้มีการปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตให้ลดการสัมผัสสิ่งต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยงรับเชื้อ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อการออกแบบบ้านในอนาคตด้วย นั่นคือลดการใช้ของส่วนกลางร่วมกัน และปรับอุปกรณ์ให้เป็นระบบอัตโนมัติมากขึ้น เช่น ประตูอัตโนมัติ ก๊อกน้ำระบบเซนเซอร์ หรือระบบสั่งการด้วยเสียง ในการเปิด-ปิด เครื่องใช้ไฟฟ้า

 



3. จัดพื้นที่รับพัสดุลดการสัมผัส

การซื้อของออนไลน์และการสั่งอาหารผ่าน Application กลายเป็นเรื่องปกติในช่วงล็อกดาวน์ที่ผ่านมา ทำให้ในแต่ละวันเราต้องพบปะรับสิ่งของกับขนส่งมากหน้าหลายตา เพิ่มโอกาสความเสี่ยงในการติดเชื้อ ดังนั้นการออกแบบพื้นที่รับ-ส่ง พัสดุโดยไม่ต้องพบปะกันในระยะใกล้ชิด จึงเหมาะสมกับบ้านในยุคสู้ Covid-19 

โดยอาจจะออกแบบเป็นช่องรับพัสดุที่ประตูเล็ก และติดตั้งหน้าบานแบบเปิด พร้อมทำที่คล้องแม่กุญแจป้องกันการเปิดจากภายนอก หรือทำกล่องรับจดหมายและพัสดุแบบฝังผนังให้กลมกลืนกับบ้านได้ อย่างการเจาะผนังรั้วแล้วออกแบบให้มีช่องรับจดหมายด้านบน ส่วนช่องด้านล่างสำหรับใส่พัสดุมีฝาเปิดได้สองด้านและมีล็อกด้านใน

 

การตัดสินใจสร้างบ้านสักหลังต้องรองรับอนาคตข้างหน้า เพราะบ้านหลังหนึ่งอยู่กับเรานานเป็นสิบปี การเลือกบริษัทรับสร้างบ้านที่จะมาสานฝันบ้านหลังงามให้กับเรานั้นจึงต้องพิถีพิถัน ควรเลือกบริษัทรับสร้างบ้านที่มีประสบการณ์มายาวนาน มีความน่าเชื่อถือในคุณภาพและมาตรฐานวิชาชีพ ซึ่งสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้านเป็นองค์กรที่ส่งเสริมธุรกิจรับสร้างบ้านให้มีมาตรฐานที่ดีและถูกหลักวิธีในการก่อสร้าง สร้างเสริมความเชื่อมั่นและเป็นที่พึ่งของผู้บริโภค ด้วยการให้ความรู้ คำปรึกษาปัญหาการสร้างบ้าน เพื่อยกระดับมาตรฐานของวงการก่อสร้าง

 

สนับสนุนบทความโดย

 

บริษัท ดับบลิว เฮ้าส์ จำกัด

ที่อยู่ : 65/6 ซอยรามอินทรา 14 แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10230

โทรศัพท์ : 09 3555 0596

อีเมล : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. 

เว็บไซต์ : http://www.whouse.co.th 

สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

Home Builder Association

เลขที่ 2 ซอยลาดปลาเค้า 10 แขวงลาดพร้าว

เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

 : info@hba-th.org

 : 0-2570-0153,0-2940-2744

  : 0-2570-0154