Page 125 - คู่มือมาตรฐานงานก่อสร้างบ้านพักอาศัย
P. 125
8) ตรวจสอบการยุบ การบวม หรือการแอ่นตัวของประตูภายหลังการติดตั้ง ด้วยการใช้ไม้ความยาว 2.1 เมตร
ทาบลงบนบานประตู โดยระยะการโก่งตัวต้องไม่เกิน ¼ นิ้ว
การตรวจสอบการแอ่นตัวของบานประตู
9) ตรวจสอบบริเวณบานพับและกลอนประตูที่ยืดด้วยสกรู ต้องไม่มีรอยแตกร้าวจากการขันสกรูเกิดขึ้น
10) ความสูงของขอบล่างบานประตูเหนือระดับพื้นไม่ควรเกิน 5 มิลลิเมตร
11) ตรวจสอบร่องรอยการขูดขีดของสีเคลือบ หากพบให้ท าการซ่อมสี สามารถใช้น้ าสบู่ท าความสะอาดคราบ
สกปรก คราบไขมัน หากพบเชื้อราบนบานประตูให้ใช้น้ ายาฟอกขาวท าความสะอาด
กำรปรับปรุงแก้ไข
1) หากพบว่าขนาดความกว้างของบานประตูไม่พอดี ให้ท าการปรับที่วงกบก่อน หากพบว่ายังไม่ได้จึงท าการ
ปรับแต่งบานประตูได้ในส่วนที่ไม่ได้ติดตั้งบานพับ แต่สามารถไสได้ไม่เกิน 3 - 5 มิลลิเมตร
2) ในกรณีความสูงของบานไม่พอดีกับวงกบไม้ ให้ตัดขอบบานด้านล่างหรือทั้งสองด้าน ถ้าจ าเป็นต้องตัดออกมาก
จนถึงส่วนที่มีโฟม ให้ใช้คัตเตอร์ตัดโฟมออกก่อน
3) หากพบบานประตูที่ช ารุดเสียหาย ให้ท าการเปลี่ยนใช้บานที่สมบูรณ์
ข้อควรระวังในกำรท ำงำน
1) การบากบานพับไม่ควรบากช่องบานพับเกินความหนาของบานพับ
2) การเจาะยึดควรใช้ตะปูเกลียวเบอร์ 8 ที่มีเกลียวตลอด และไม่ควรตอกตะปูเกลียวด้วยค้อนโดยตรง
3) ความลึกในการไสขอบของบานประตูต้องระวังไม่ให้เกิน 5 มิลลิเมตร
114