Page 8 - คู่มือมาตรฐานงานก่อสร้างบ้านพักอาศัย
P. 8
ประวัติควำมเป็นมำ
ในอดีต การสร้าง “บ้านพักอาศัย” ของคนไทยนั้นนิยมปลูกสร้างบ้านด้วยวัสดุประเภท “ไม้” เป็นส่วนใหญ่
ทั้งนี้เพราะสมัยก่อนป่าไม้และทรัพยากรของประเทศไทย มีความอุดมสมบูรณ์อย่างมาก รวมทั้งราคาถูกกว่าการก่อสร้าง
ด้วยวัสดุถาวรประเภทอิฐและคอนกรีต ซึ่งจะพบเห็นและน ามาก่อสร้างกับอาคารที่เป็นสถานที่ส าคัญ ๆ ของทางราชการ
เท่านั้น ทั้งนี้การปลูกสร้างบ้านไม้ในสมัยก่อนต้องอาศัยช่างไม้ฝีมือที่มีความช านาญและถ่ายทอดประสบการณ์ผ่านมา
หลายชั่วอายุคน จึงจะได้ผลงานที่สวยงามและมีความประณีต
ต่อมาเมื่อป่าไม้และทรัพยากรลดลง การน าเอาวัสดุก่อสร้างประเภทอิฐและคอนกรีตเสริมเหล็กมาใช้ในการ
สร้างบ้าน เริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายและได้รับการยอมรับจากคนไทยมากขึ้นตามล าดับ ซึ่งระยะต่อ ๆ มาการสร้างบ้านที่
ต้องการความมั่นคงถาวร และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ส่วนใหญ่จะท าการก่อสร้างจากโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก
และการก่ออิฐฉาบปูน
เมื่อระบบการสร้างบ้านเปลี่ยนจากการปลูกสร้างด้วยไม้ มาเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก และการก่ออิฐฉาบปูน
ความช านาญของช่างไม้แต่เดิมนั้น ไม่เพียงพอต่อการจะก่อสร้างบ้านระบบใหม่เสียแล้ว ทั้งนี้เพราะการออกแบบ
โครงสร้างและรูปแบบทางสถาปัตย์ จะต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้ทางด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม โดยมี
สถาบันการศึกษาของรัฐท าหน้าที่ผลิตบุคลากรผู้มีความรู้ความสามารถคือ วิศวกร และ สถาปนิก ออกมาประกอบอาชีพ
ด้านนี้โดยเฉพาะ รวมทั้งเทคนิคและขั้นตอนการก่อสร้างต่าง ๆ ก็จะต้องได้รับการควบคุมดูแลอย่างถูกต้องตามหลัก
วิชาการ เพื่อให้การสร้างบ้านได้มาตรฐานและมีความมั่นคงแข็งแรง
ที่ผ่านมาผู้บริโภคและประชาชนส่วนใหญ่ ยังขาดความรู้ความเข้าใจในบทบาทของวิชาชีพนี้ รวมทั้งการสร้าง
บ้านพักอาศัยโดยทั่วไป ยังมีความเข้าใจที่ผิด ๆ หลายประการส่งผลให้ทุกวันนี้เราจะพบเห็นผลงาน “ขยะทางสถาปัตย์
และวิศวะ” อยู่เต็มบ้านเต็มเมือง ตลอดจนผู้ประกอบการหรือผู้อยู่ในอาชีพรับเหมาก่อสร้างรายย่อย ๆ มีเกิดขึ้นมากมาย
โดยยังไม่มีหน่วยงานหรือองค์กรใด ๆ มาควบคุมการประกอบวิชาชีพนี้ ซึ่งผลที่ตามมาคือการมิได้ยึดถือหรือน าเอา
วิชาชีพสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม มาใช้ในการประกอบอาชีพหรือด าเนินธุรกิจ ท าให้ผู้บริโภคไม่ได้รับสินค้าหรือบ้าน
ที่ก่อสร้างตามหลักวิศวกรรม
VI