บริษัท รับสร้างบ้าน

บริษัทรับสร้างบ้าน รับสร้างบ้าน สร้างบ้าน สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

4 จุดเสี่ยงต้องรู้หมดปัญหาหลังคาบ้านรั่วซึม

21
ก.พ.
2565

 


ว่ากันว่า การตรวจเช็กหลังคารั่วควรทำช่วงก่อนเข้าหน้าฝน หรือ หลังเข้าหน้าฝน แต่ใครจะอยากรื้อๆ ซ่อมๆ บ้านกันทั้งปี เสียทั้งอารมณ์ เสียทั้งเวลา ฉะนั้นเราควรหาข้อมูลเพื่ออุดจุดรั่ว กันไว้ดีกว่าแก้ หลังคาเปรียบเสมือนเกราะป้องกันเหตุไม่พึงประสงค์จากด้านบน ที่จะส่งผลเสียหายกับตัวบ้าน ทรัพย์สิน สัตว์เลี้ยง และสมาชิกในครอบครัว

สำหรับใครที่กำลังสร้างบ้านในฝัน หรือหา บริษัทรับสร้างบ้าน หลังคาก็เป็นอีกจุดใหญ่ที่ไม่ควรละเลย เพราะหากเป็นการสร้างเองโดยช่างที่ไม่เชี่ยวชาญ อาจสร้างความรำคาญใจได้ในอนาคต วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ ให้คุณได้ตรวจดูจุดเสี่ยงเพื่อลดปัญหาหลังคารั่วซึมกันค่ะ

 

4 จุดเสี่ยงต้องรู้หมดปัญหาหลังคาบ้านรั่วซึม


1. โครงสร้างหลังคา

โครงสร้างหลังคาเป็นภาพใหญ่ที่จะสามารถทำให้เราเห็นทรงบ้าน สไตล์บ้านได้ชัดเจน บ้านบางหลังอาจจะแต่งให้ดูมีเอกลักษณ์มากขึ้น การดัดแปลงโครงสร้างเพื่อความสวยงามจึงอาจทำให้เกิดข้อผิดพลาด และต้องระวังมากที่สุด

โครงสร้างหลังคาทำหน้าที่รับน้ำหนักของแผ่นกระเบื้องพร้อมเป็นฐานให้ยึดผืนหลังคา และจะถูกออกแบบโดยวิศวกรคำนวณน้ำหนักและลงรายละเอียดสเปกของวัสดุที่จะนำมาทำหลังคาเพื่อการใช้งาน ที่ทนต่อแดด ฝน พายุ โดยโครงสร้างหลังคาที่ดีจะถูกกำหนดองศาของแผ่นกระเบื้องอย่างชัดเจนเพื่อป้องกันการรั่วจากการย้อนของน้ำฝน

 
2. แปและจันทัน

สืบเนื่องจากงานโครงสร้าง อาจจะฟังดูยากสำหรับผู้ที่ไม่ได้อยู่ในวงการสร้างบ้าน แต่สำหรับผู้ที่กำลังจะสร้างบ้านควรต้องรู้ไว้เพื่อให้รู้เท่าทันหรือคุยกับทีมงานสร้างบ้านรู้เรื่อง

แปและจันทันเป็นส่วนประกอบของโครงสร้างหลังคา ที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักและยึดเกาะกระเบื้องหลังคา การจัดระยะแปและระยะจันทันของกระเบื้องหลังคาแต่ละชนิดจะไม่เท่ากัน ต้องให้วิศวกรผู้ออกแบบกำหนดให้ถูกต้อง ถ้าระยะแปและระยะจันทันมากเกินไปจะเกิดอาการที่เรียกว่า อาการตกท้องช้าง มันจะดันกระเบื้องให้เกิดช่องว่าง ส่งผลให้เมื่อมีฝนตก ลมแรง น้ำฝนไหลย้อนเข้ามาที่ส่วนใต้ชายคา และรั่วซึมฝ้าได้




3. กระเบื้องหลังคาไม่อยู่ในแนวเดียวกัน

จุดนี้จะเป็นจุดที่เจ้าของบ้านเองสังเกตได้โดยง่าย โดยจะเห็นแนวที่เป็นระเบียบชัดเจนหากแผ่นไหนโก่ง หรือเว้นระยะห่างมากเกินไปจนเกิดช่องโหว่ จะมีปัญหาตามมาอย่างแน่นอน เพราะนอกจากน้ำจะย้อนเข้าขังแล้ว ปัญหาเชื้อราก็จะตามมาซึ่งบานปลายถึงฝ้าเลยก็มี

นอกจากการวางกระเบื้องหลังคาให้เป็นระเบียบแล้ว อีกเรื่องที่สัมพันธ์กันก็คือ องศาของการวาง โดยหลักการออกแบบหลังคาที่ป้องกันการรั่วซึมต้องกำหนดองศาการวางของกระเบื้องหลังคาแต่ละชนิดตามที่ผู้ผลิตกำหนด ในบางกรณีที่เจ้าของบ้านต้องการความเป็นเอกลักษณ์หรือการออกแบบใด ๆ จากทีมรับสร้างบ้านที่มีการใช้หลักความชันน้อย จะมีวิศวกรหรือผู้เชี่ยวชาญช่วยเลือกใช้วัสดุที่ได้มาตรฐาน มีความเหมาะสม และคำนวณระยะซ้อนทับของแผ่นหลังคาก่อนจะก่อสร้างจริง เพื่อป้องกันปัญหาหลังคารั่วซึม

จริงอยู่ว่าเราเองอาจจะไม่ทราบในรายละเอียดการสร้างบ้าน การเลือกใช้วัสดุ การคำนวณต่าง ๆ ที่ต้องใช้ความรู้ทางวิศวกรรม จึงเลิกฝากความฝันจะได้บ้านหลังงามไว้กับบริษัทรับสร้างบ้าน ซึ่งจะเลือกบริษัทไหนก็ต้องคำนึงถึงปัจจัยหลาย ๆ อย่างประกอบกัน ทั้งงบประมาณที่ต้องสัมพันธ์กับคุณภาพงาน คุณภาพวัสดุ และมาตรฐานการก่อสร้าง เพื่อความปลอดภัยของทรัพย์สินและสมาชิกทุกคนภายในบ้าน เพราะคงไม่มีใครอยากเห็นภาพตัวเองถือถังรองน้ำหรือปีนหลังคากันทุก ๆ หน้าฝนแน่นอน

 

สนับสนุนบทความโดย

      

บริษัท รอแยลเฮ้าส์ จำกัด

1148 ถนนนครไชยศรี แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300

โทรศัพท์ : 0 2459 4646

อีเมล : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. 

เว็บไซต์ : www.royalhouse.co.th 

สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

Home Builder Association

เลขที่ 2 ซอยลาดปลาเค้า 10 แขวงลาดพร้าว

เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

 : info@hba-th.org

 : 0-2570-0153,0-2940-2744

  : 0-2570-0154