บริษัท รับสร้างบ้าน

บริษัทรับสร้างบ้าน รับสร้างบ้าน สร้างบ้าน สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

สรุปมาให้แล้ว 8 วิธีการสร้างบ้าน พร้อมสำหรับรองรับผู้สูงอายุ

18
พ.ย.
2567

 บริษัทรับสร้างบ้าน
 

สรุปมาให้แล้ว 8 วิธีการสร้างบ้าน พร้อมสำหรับรองรับผู้สูงอายุ

จากการคาดการณ์ ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พบว่า ในปี 2583 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป สูงถึง 20.5 ล้านคนหรือ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32 ของจำนวนประชากรไทยทั้งหมด

ดังนั้น เพื่อเป็นการรองรับจำนวนผู้อายุในอนาคต การสร้างบ้านที่คำนึงถึงผู้สูงวัยก็เป็นการให้กำลังใจ ให้ผู้สูงอายุรับรู้ได้ถึงการไม่ละเลย และได้รับความสำคัญ สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน จึงได้นำ 8 วิธีการสร้างบ้าน สำหรับรองรับผู้สูงอายุ มาฝาก ดังนี้

1. ทางเดินเข้า-ออก

การใช้งานที่เฉพาะของผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องใช้รถเข็น การออกแบบทางเข้า-ออก บ้าน ควรอิงความกว้างของรถเข็น อย่างน้อย 90 เซนติเมตร ทั้งนี้ การออกแบบทางเข้า-ออก หรือทางลาดนั้น ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง ปูพื้นด้วยวัสดุที่มีความหนืดส่วนทางลาดควรมีอัตราความลาดชันไม่น้อยกว่า 1:12 เช่น ถ้าพื้นสูง 1 เมตร ทางลาดต้องยาว 12 เมตร ติดตั้งไฟส่องสว่างให้เพียงพอ และเปิด-ปิด ด้วยระบบอัตโนมัติ


2. ประตู-หน้าต่าง

การใช้งานต่อเนื่องจากการเข้า-ออก บ้านนั้น ส่วนของประตูนั้นหากว่าด้วยการใช้รถเข็นก็ควรออกแบบให้เป็นแบบบานเลื่อน ไม่ควรเป็นแบบผลัก-ดึง และแบบลูกบิด เพื่อหลีกเลี่ยงการออกแรง รวมถึงเพิ่มพื้นที่ในการใช้งานของบ้านได้ ส่วนของหน้าต่าง ควรมีความสูงในระยะพอดีกับเข็นเพื่อให้ผู้สูงอายุได้ผ่อนคลาย ถ่ายเทอากาศสะดวก


3. ทาสีผนัง

สีของผนังนอกจากจะต้องเลือกอย่างปลอดภัย ไม่มีกลิ่นฉุน ไม่มีสารตกค้างแล้ว ส่วนนี้สามารถระบุเน้นย้ำการใช้งานกับบริษัทรับสร้างบ้าน สิ่งสำคัญก็คือจะต้องไม่เงา ให้ผิวสัมผัสที่ไม่ลื่น แต่ต้องทำความสะอาดง่าย หากตกแต่งด้วย wall-paper ควรเลือกเป็นลายที่เรียบ ไม่กวนตา มองแล้วเวียนหัว

4. ห้องนั่งเล่น

ส่วนของห้องนั่งเล่น เฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ต้องติดตั้งอย่างไม่กีดขวางทาง ป้องกันการสะดุดล้ม และเพื่ออำนวยความสะดวกเมื่อต้องการใช้พื้นที่ห้องนั่งเล่น ควรติดตั้งราวจับที่ไม่ลื่นแข็งแรง และสามารถรองรับน้ำหนักได้ รวมถึงการติดตั้งสวิตช์ไฟ ปลั๊กไฟ ควรอยู่ระยะที่ไม่ต้องก้มหรือเอื้อมเมื่อนั่งรถเข็น ตั้งแต่ 45-90 เซนติเมตร


5. ห้องครัว

พื้นที่ส่วนครัวอาจจะไม่เป็นส่วนที่สูงอายุได้ใช้งานบ่อยนัก แต่ก็ยังต้องให้ความสำคัญเช่นกัน เพราะเป็นที่เต็มไปด้วยอุปกรณ์ เครื่องใช้ที่มีคม เสี่ยงอุบัติเหตุ รวมถึงส่วนซักล้างก็อาจจะทำให้ลื่นล้มง่าย ดังนั้น การออกแบบในห้องนี้จึงควรแบ่งส่วนเครื่องใช้ของมีดคมอย่างมิดชิด ฉลากเครื่องปรุงต่าง ๆ อ่านง่าย ไม่ปะปนกับเครื่องปรุงต้องห้ามสำหรับผู้สูงอายุ โต๊ะกลางรับประทานอาหารควรเลือกที่มีระยะความสูงจากพื้นประมาณ 60 – 80 เซนติเมตร และความลึกไม่ต่ำกว่า 40 เซนติเมตร


6. ห้องนอน

โดยส่วนใหญ่ ห้องนอนสำหรับผู้สูงอายุ จะถูกออกแบบให้อยู่ชั้นล่างของบ้าน เพื่อป้องกันอันตรายจากการพลัดตกบันได เป็นห้องที่รวมความพิเศษทุกข้อที่กล่าวมาข้างต้น ตั้งแต่ความกว้างของประตู สีของห้องนอน ระยะความสูงของสวิตช์ไฟ ปลั๊กไฟ ต่าง ๆ แต่ที่จะเพิ่มเติมคือ เตียงนอน จะต้องสามารถขึ้น-ลงรถเข็นได้จากทั้งสามด้านของเตียง มีอุปกรณ์เรียกเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินใกล้มือ และไฟทางอัตโนมัติ รวมถึงหากสามารถปูพื้นด้วยวัสดุที่มีความยืดหยุ่น ลดความบาดเจ็บหากเกิดการล้มได้ก็เบาใจไปอีกทาง


7. บันได

ในการออกแบบบ้านนั้น หากความจำเป็นจะต้องมีห้องนอนผู้สูงอายุอยู่ชั้นบน การออกแบบจึงต้องเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุไปด้วย ในกรณีนี้อาจจะเป็นผู้สูงอายุที่สามารถดูแลตัวเองได้ระดับนึงไม่ต้องใช้รถเข็นประจำ สิ่งอำนวยความสะดวก ขั้นแรกคือ ควรออกแบบให้มีความกว้างไม่น้อยกว่า 150 เซนติเมตร โดยแต่ละขั้นมีความสูงไม่เกิน 15 เซนติเมตร และมีความกว้างไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร หรือสามารถวางเท้าได้ ควรติดสติ๊กเกอร์กันลื่นไม่เลือกวัสดุที่ไม่เงา พร้อมทั้งติดราวจับตลอดทาง



8. ห้องน้ำ

อุบัติเหตุในบ้านมักเกิดขึ้นจากการใช้ห้องน้ำ ดังนั้นการเลือกสุขภัณฑ์ที่เหมาะกับผู้สูงอายุควรเป็นแบบนั่งราบ มีความสูงจากพื้นประมาณ 40-50 เซนติเมตร พร้อมราวจับ และควรแบ่งพื้นที่ส่วนเปียก ส่วนแห้งให้ชัดเจน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้

 

ในวัยผู้สูงอายุเป็นวัยที่ควรได้รับการใส่ใจเป็นอย่างมาก ไม่เพียงแค่การดูแลแค่ด้านจิตใจ ยังต้องหมายถึงด้านการใช้ชีวิตด้วยเช่นกัน การสร้างบ้านพร้อมรองรับผู้สูงอายุ ที่น่าจะเพิ่มจำนวนที่มากขึ้นตามการคาดการณ์นั้น อาจจะมีข้อจำเพาะที่ถูกแยกเพื่อผู้สูงอายุที่ป่วยอีกขึ้นหนึ่ง สมคมธุรกิจรับสร้างบ้าน จึงหวังว่า 8 วิธีการนี้จะสามารถเป็นข้อมูลเพื่อปรับใช้ให้เหมาะสมต่อไป

 

 

สนับสนุนบทความโดย

บจก.โฮมสแควร์ ดีเวลอปเมนท์

ที่อยู่ : 2/69 ถนนลำลูกกา ตำบลลาดสวาย อำเภอลำลูกกา, Lam Luk Ka, Thailand, Pathum Thani

โทรศัพท์ :  025332622-3 , 02994446

อีเมล : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. 

เว็บไซต์ : www.homesquare.co.th 

 

สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

Home Builder Association

เลขที่ 2 ซอยลาดปลาเค้า 10 แขวงลาดพร้าว

เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

 : info@hba-th.org

 : 0-2570-0153,0-2940-2744

  : 0-2570-0154