บริษัท รับสร้างบ้าน

บริษัทรับสร้างบ้าน รับสร้างบ้าน สร้างบ้าน สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

5 สัญญาณเตือน ลักษณะบ้านเป็นภัยกับการอยู่อาศัย

11
ก.พ.
2564

 

 

รู้หรือไม่? ปัญหาเรื่องบ้านแม้จุดเล็กๆ อาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาใหญ่ทำให้บ้านที่คุณลงทุน ลงแรง ลงทุกความทรงจำต่างๆ สร้างขึ้นมานั้นเสียหายและเป็นอันตรายกับผู้อยู่อาศัยได้

การใส่ใจดูแลบ้านอยู่เสมอ และให้ความสำคัญกับปัญหาเล็กๆ น้อยๆ จะช่วยให้คุณป้องกันปัญหาบ้านเสียหายบานปลายได้ ดังนั้นมาดู 8 สัญญาณเตือนภัย บ้านที่เป็นอันตรายต่อการอยู่อาศัย เจอเมื่อไรต้องรีบแก้ไขทันที

8 สัญญาณเตือน ลักษณะบ้านเป็นภัยกับการอยู่อาศัย

1. โครงสร้างบ้านเสียรูปทรง

ส่วนประกอบของบ้านที่อยู่ในกลุ่มโครงสร้าง เช่น เสา คาน และผนัง ซึ่งเป็นส่วนที่ต้องรองรับน้ำหนักของบ้านทั้งหลัง ดังนั้นหากส่วนของโครงสร้างมีมีมาตรฐานจะเสริมให้บ้านมีความแข็งแรง สามารถอยู่อาศัยได้อย่างปลอดภัยในระยะยาว

สาเหตุที่ทำให้โครงสร้างบ้านเสียรูปทรงมีได้ทั้งระยะเวลาการใช้งาน และการสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งมีผลทำให้โครงสร้างบ้านแตก หัก ร้าว เอียง และทรุด หากสังเกตเห็นลักษณะผิดปกติดังกล่าวควรรีบแจ้งผู้เชี่ยวชาญเพื่อดำเนินการประเมินความเสียหาย ความเสี่ยง และการซ่อมแซมแก้ไขทันที

 

2. พื้นบ้านร้าวหรือทรุดตัว

พื้นบ้านที่มีปัญหาการร้าวหรือทรุดมักเกิดจากปัญหาการก่อสร้างที่ผิดพลาดในขั้นตอนการก่อปูน หรือการใช้ส่วนผสมของปูนในการเทพื้น และอีกสาเหตุหลักคือดินในบริเวณมีการเตรียมพร้อมก่อนสร้างบ้านไม่แน่นดีพอ ทำให้มีการยุบตัวเมื่อเวลาผ่านไป หรือเมื่อถูกน้ำไหลผ่าน

ปัญหานี้ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกับความมั่นคงของโครงสร้างบ้านด้วย โดยวิธีการแก้ไขหลังเกิดปัญหาต้องให้ผู้เชี่ยวชาญทำการสำรวจและหาทางแก้ไขเรื่องดินทรุด และฐานโครงสร้างบ้าน

ส่วนการป้องกันคือการถมดินให้แน่น และให้เวลากับการเซ็ตตัวของดิน ก่อนสร้างบ้าน เพื่อป้องกันปัญหาดินทรุด และพื้นบ้านทรุดร้าวตามมาภายหลัง

 

3. ดาดฟ้าบ้านรั่วซึม

หลายบ้านที่มีหลังคาทรงแบน สามารถใช้พื้นที่เป็นดาดฟ้าได้ และตกแต่งเป็นมุมสวน มุมนั่งเล่นพักผ่อน แต่การมีดาดฟ้าก็อาจเสี่ยงต่อปัญหาน้ำขัง น้ำรั่วซึม และความชื้นกับตัวบ้านได้ หากการดำเนินการก่อสร้างไม่มีมาตรฐาน หรือการเสมื่อมสภาพจากการใช้งานเป็นระยะเวลานาน

ดังนั้นเจ้าของบ้านควรสำรวจดูแลพื้นที่บ้าน หากเกิดปัญหาบริเวณดาดฟ้าควรหาสาเหตุที่แท้จริงแล้วดำเนินการแก้ไขให้ตรงจุด เช่น สำรวจรอยรั่ว รอยร้าวอย่างละเอียดทุกจุดแล้วทำการซ่อมแซมเพื่ออุดรอยรั่วและรอยร้าวนั้น แต่หากร้อยร้าวมีหลายจุดและมีลักษณะค่อนข้างลึก หรือแตกร้าวมากผิดปกติควรให้วิศวกรประเมินการแก้ไข

หากดำเนินการแก้ไขแล้วควรเพิ่มการติดตั้งวัสดุกันซึมในพื้นที่รขอยต่อ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหารั่วซึมซ้ำ

 

  

 

4. คราบน้ำตามฝ้า ผนัง และรอยต่อ

เมื่อบ้านที่อยู่อาศัยวันหนึ่งมีคราบน้ำเกิดขึ้นตามจุดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ฝ้า ผนัง หรือรอยต่อจุดต่างๆ หรือตามขอบประตู ขอบหน้าต่าง ย่อมไม่ใช่เรื่องปกติที่เจ้าของบ้านจะนิ่งนอนใจได้

การแก้ไขควรหาจุดต้นเหตุของคราบน้ำ แล้วดำเนินการอุดรอยรั่ว หากรอยรั่วนั้นกระทบกับส่วนประกอบของบ้านค่อนข้างเยอะ ควรซ่อมแซม หรือเปลี่ยนส่วนนั้น เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจมีกับตัวบ้านหรือโครงสร้างหลักในอนาคต

 

5. ชิ้นส่วนไม้ผุพัง

บ้านที่มีไม้เป็นส่วนประกอบ ไม่ว่าจะกับตัวบ้าน โครงสร้าง ประตู หน้าต่าง ผนัง หรือเฟอร์นิเจอร์ อาจมีปัญหาการผุพังเสียหาย จากทั้งระยะเวลาการใช้งานมานาน หรือโดนความร้อน ความชื้น และถูกรบกวนจากปลวก มอด

จุดเริ่มต้นความเสียหายอาจเป็นจุดผุพังเล็กๆ แต่หากปล่อยทิ้งไว้นานอาจลุกลามกลายเป็นโพรงใหญ่จนไม้แตกหักหรือเสียรูปทรง

แนวทางแก้ไขควรรีบดำเนินการตั้งแต่พบจุดผุพังเล็กๆ ก่อนบานปลาย หรือหากไม้บริเวณนั้นผุพังจนไม่สามารถใช้ต่อได้ ควรเปลี่ยนและใช้เป็นวัสดุทนแทนไม้ จะช่วยยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น

 

ลักษณะต่างๆ ข้างต้นคือสัญญาณเตือนที่เจ้าของบ้านไม่ควรมองข้าม เพื่อรักษาสภาพของบ้านที่น่าอยู่ และมีอายุการใช้งานได้ยาวนาน เพราะการสร้างบ้านแต่ละครั้งมีงบประมาณสูง ดังนั้นการตัดต้นตอปัญหาเล็กๆ ก่อนบานปลาย จะช่วยให้ใช้งานได้คุ้มค่าสมกับเงินที่จ่ายไป

 

 

 

สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

Home Builder Association

เลขที่ 2 ซอยลาดปลาเค้า 10 แขวงลาดพร้าว

เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

 : info@hba-th.org

 : 0-2570-0153,0-2940-2744

  : 0-2570-0154