บริษัท รับสร้างบ้าน

บริษัทรับสร้างบ้าน รับสร้างบ้าน สร้างบ้าน สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

รู้ก่อนสร้าง ต่อเติมบ้านอย่างไรไม่ผิดกฎหมาย

19
พ.ค.
2564

 

 

บ้านที่อยู่อาศัยในระยะเวลาหนึ่ง เป็นไปได้ว่าเมื่อสมาชิกเพิ่มมากขึ้นหรือมีความต้องการใช้สอยพื้นที่มากขึ้นหรือแตกต่างจากเดิมย่อมต้องมีการขยับขยาย ต่อเติม เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้รองรับความต้องการอยู่อาศัยมากขึ้น

แต่การต่อเติมเสริมพื้นที่ส่วนต่างๆ ของบ้าน ย่อมต้องคำนึงถึงหลักการก่อสร้างที่ควรถูกต้องตามหลักการก่อสร้างและกฎหมาย และความปลอดภัยทั้งตัวผู้พักอาศัยในบ้านเอง รวมถึงเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงด้วย

 

ต่อเติมบ้านอย่างไรไม่ผิดกฎหมาย

การดำเนินการต่อเติมบ้านนั้นในเบื้องต้นเจ้าของบ้านควรรู้เรื่อง พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร) พ.ศ. 2522 ตามมาตรา 21 และ 39 ทวิ โดยเนื้อหาที่สรุปได้คือการดัดแปลง หรือต่อเติมอาคาร ต้องแจ้งและได้รับอนุญาตจากพนักงานท้องถิ่นก่อนเสมอ (มาตรา 21) พร้อมยื่นแบบแปลน ชื่อสถาปนิกและวิศวกรที่ควบคุมงานให้เจ้าพนักงานทราบ (มาตรา 39 ทวิ)

โดย พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร นี้กำหนดให้การก่อสร้าง หรือต่อเติมอาคารนั้นต้องมีระยะห่างระหว่างอาคาร เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน และเลี่ยงการรบกวนผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ใกล้เคียง

5 เรื่องต้องมีเมื่อต่อเติมบ้าน

 

1. มีใบอนุญาตจากเจ้าพนักงาน

สำหรับการต่อเติมบ้านไม่ว่าจะเป็นบ้าน 1 ชั้น 2 ชั้น หรือมากกว่านั้น หากดำเนินการในข้อต่างๆ ดังนี้ จะต้องมีใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อน

• การต่อเติมบ้านที่มีพื้นที่ครอบคลุมเกิน 5 เมตร

• การลด-เพิ่ม จำนวนเสา หรือคาน

• การต่อเติมที่มีความเปลี่ยนแปลงของวัสดุ ขนาด ที่แตกต่างไปจากของเดิม

• การต่อเติมที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักบ้านที่เพิ่มมากขึ้นจากการคำนวนฐานรับน้ำหนัก

 

2. มีสถาปนิกและวิศวกรควบคุมการดำเนินการต่อเติม

การขออนุญาตต่อเติมบ้านที่ต้องยื่นเอกสารต่อเจ้าหน้าพนักงานท้องถิ่นนั้น ต้องมีรายละเอียดของแบบแปลนที่จะใช้ในการต่อเติมที่ได้รับการรับรองจากสถาปนิกผู้ออกแบบ รวมถึงวิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้าง

หากเป็นกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องของวัสดุก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นส่วนของพื้น หลังคา เสา จะต้องมีการคำนวนเรื่องการรับน้ำหนักของฐานจากสถาปนิกหรือวิศวกรที่รับหน้าที่ก่อสร้างด้วย

 

3. มีระยะร่นและการเว้นที่ว่างถูกต้องตามกฎหมาย

ส่วนของระยะร่นที่เจ้าของบ้านควรรู้ไว้นั้นจะต้องดำเนินการให้ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นในขั้นตอนของการก่อสร้างหรือต่อเติมก็ตาม โดยระยะร่นที่ควรมีเป็นดังนี้คือ

• ระยะร่นระหว่างตัวอาคารกับจุดกึ่งกลางถนนต้องมีอย่างน้อย 3 เมตร

• เว้นที่ว่างระหว่างตัวอาคารกับเขตที่ดินด้านหน้าอย่างน้อย 3 เมตร ส่วนที่ว่างด้านหลัง และด้านข้างต้องเว้นไว้อย่างน้อย 2 เมตร

• มีขอบเขตของตัวบ้านไม่เกิน 70% ของที่ดิน ซึ่งจะนับจากชั้นที่มีพื้นที่กว้างสุด

• บ้านที่มีจำนวนชั้น 1 ชั้น หรือมีความสูงไม่เกิน 9 เมตร ควรเว้นระยะห่างของช่องเปิด (หน้าต่าง ช่องลม ช่องแสง) ห่างจากแนวของเขตที่ดินข้างเคียงไม่น้อยกว่า 2 เมตร แต่ถ้าเป็นผนังทึบต้องเว้นระยะห่างไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร

 

4. มีความยินยอมจากเพื่อนบ้านใกล้เคียง

การต่อเติมบ้านควรดำเนินการไปอย่างไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น โดยเฉพาะเพื่อนบ้านใกล้เคียง แต่ก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะมีผลกระทบบ้าง เช่น เสียงดัง กลิ่น หรือฝุ่น

ดังนั้นก่อนดำเนินการต่อเติมบ้านเจ้าของบ้านควรพูดคุยขอความยินยอมพร้อมแจ้งวันเวลาให้เพื่อนบ้านรับรู้ไว้ก่อน โดยเฉพาะการต่อเติมผนังทึบที่ชิดรั้วบ้านด้านข้างจะต้องมีหนังสือยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากเพื่อนบ้าน เพื่อป้องกันปัญหาขัดแย้งภายหลัง

 

กฎหมายต่อเติมบ้านที่ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคาร และไม่ต้องขออนุญาต

• การเปลี่ยนโครงสร้างของบ้านโดยใช้วัสดุที่มีขนาด จำนวน และชนิดเดียวกับของเดิม

• การเปลี่ยนแปลงส่วนต่างๆ ของบ้าน ที่ไม่ถือเป็นโครงสร้างและเพิ่มน้ำหนักให้โครงสร้างไม่เกิน 10% เช่น ผนัง พื้น

• การเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของอาคาร โดยมีขนาดและรูปทรงที่เพิ่มน้ำหนักไม่เกิน 10% เช่น ประตู หน้าต่าง ฝ้าเพดาน

• การเพิ่มหรือลดพื้นที่รวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร และต้องไม่ใช่การลดหรือเพิ่มเสา หรือคาน เช่น การเพิ่มพื้นเฉลียงชั้นล่าง

• การเพิ่มหรือลดพื้นที่ส่วนของหลังคา โดยมีขนาดมากขึ้นรวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร และต้องไม่ใช้การลดหรือเพิ่มเสา คาน

การดำเนินการต่อเติมบ้านโดยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายกำหนดถือเป็นความผิดที่เจ้าของบ้านต้องรับผิดชอบดังนี้

• การต่อเติมบ้านในเรื่องที่เป็นข้อบังคับแต่ไม่มีการขออนุญาต เจ้าของบ้านจะต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

• หากเจ้าของบ้านถูกร้องเรียน และสืบพบว่ามีการต่อเติมบ้านผิดกฎหมาย จะต้องโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกิน 30,000 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

 

ดังนั้นเพื่อลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการต่อเติมโดยพละการ และส่งผลกระทบต่อทั้งผู้อยู่อาศัยในบ้าน เพื่อนบ้าน และสังคม เจ้าของบ้านควรดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักกฎหมาย โดยสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้การดำเนินการต่างๆ เป็นไปอย่างถูกต้องมีมาตรฐาน ลดภาระการดำเนินการแก่เจ้าของบ้าน และสามารถอยู่อาศัยได้อย่างปลอดภัย

 

ภาพประกอบบทความ :


แบบบ้าน AT-1003

รายละเอียดแบบบ้าน AT-1003 คลิก!

 

 

 


แบบบ้าน AT-903

รายละเอียดแบบบ้าน AT-903 คลิก!

 

 


สนใจสร้างบ้านหรูกับ บริษัท อาร์ต เทค โฮม จำกัด

Tel. : 0 2804-1515

E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Facebook : arttechhome

 

 

สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

Home Builder Association

เลขที่ 2 ซอยลาดปลาเค้า 10 แขวงลาดพร้าว

เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

 : info@hba-th.org

 : 0-2570-0153,0-2940-2744

  : 0-2570-0154