บริษัท รับสร้างบ้าน

บริษัทรับสร้างบ้าน รับสร้างบ้าน สร้างบ้าน สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

เทคนิคสร้างรางน้ำอย่างปลอดภัย หมดห่วงเรื่องรั่วซึมในอนาคต

19
ม.ค.
2566

 

 

ปัญหารางน้ำไม่ได้มาตรฐาน ใช้งานไม่ได้จริง หรือเกิดการรั่วซึม สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่อาศัย และอาจส่งผลต่อโครงสร้างบ้านในระยะยาว มากกว่านั้นหากรางน้ำอยู่ในตำแหน่งใกล้ชิดกับเพื่อนบ้าน นั่นอาจเป็นความเดือดร้อนบานปลายที่หลายคนไม่อยากให้เกิดขึ้น ดังนั้นวันนี้สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้านจึงนำเทคนิคสร้างรางน้ำอย่างปลอดภัย หมดห่วงเรื่องรั่วซึมในอนาคต มาฝากกัน เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างบ้านพร้อมรางน้ำที่มีมาตรฐาน

 

รางน้ำสำคัญกับบ้านอย่างไร?

รู้หรือไม่? การสร้างบ้านและต้องมีรางน้ำ อยู่ในข้อกำหนดกฎกระทรวง ฉบับที่ 44 (พ.ศ.2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 2 “อาคารที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงต้องมีการระบายน้ำฝนออกจากอาคารที่เหมาะสมและเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่นหรือเกิดน้ำไหลนองไปยังที่ดินอื่นที่มีเขตติดต่อกับเขตที่ดินที่เป็นที่ตั้งของอาคารนั้น”

ดังนั้นรางน้ำ จึงเป็นส่วนหนึ่งของฟังก์ชันบ้านที่ใช้สำหรับรองน้ำฝนจากหลังคาให้ไหลสู่ท่อระบายน้ำได้สะดวก ไม่ให้น้ำกระจายไปพื้นที่อื่นๆ จนทำให้บ้านเกิดความเสียหาย หรือสร้างความเดือดร้อนแก่เพื่อนบ้าน

ประโยชน์ของรางน้ำ

  • ใช้รองรับน้ำฝนจากหลังคาบ้านให้ไหลลงจุดที่ต้องการ
  • ยืดอายุแปรชายน้ำหลังคาบ้านไม่ให้ผุกร่อนก่อนเวลาอันควร
  • ป้องกันน้ำฝนไหลจากหลังคาบ้านลงผนังบ้านโดยตรง ทำให้เกิดคราบน้ำเปื้อน
  • ป้องกันน้ำฝนไหลจากหลังคาลงพื้นดินโดยตรง ทำให้พื้นที่รอบบ้านเป็นแอ่งหรือมีน้ำท่วมขัง
  • ป้องกันไม่ให้น้ำฝนกระเด็นไปบริเวณบ้านใกล้เคียง
  • ช่วยลดแรงกระแทกของน้ำฝนไปยังต้นไม้และสวนรอบบ้านจนทำให้เกิดความเสียหาย
  • ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงบ้านที่เสียหายจากน้ำฝน เช่น คราบน้ำเปื้อนตามผนัง สีบ้านที่อาจเปื้อนหรือหลุดลอก พื้นที่สวนต้นไม้รอบบ้านที่อาจตายหรือเสียหายจากน้ำฝนกระเด็นใส่


เทคนิคการเลือกรางน้ำ

การเลือกรางน้ำแต่ละแบบจะขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย และลักษณะของการนำไปใช้ เช่น

  1. ขนาดของรางน้ำกับความยาวของหลังคา
  • รางน้ำฝนขนาด4 นิ้ว ใช้กับหลังคาที่มีความยาวไม่เกิน 5 เมตร
  • รางน้ำฝนขนาด5 นิ้ว ใช้กับหลังคาที่มีความยาวไม่เกิน 5-15 เมตร
  • รางน้ำฝนขนาด6 นิ้ว ใช้กับหลังคาที่มีความยาวมากกว่า 15 เมตร

ขนาดและความยาวของหลังคา หากเลือกไม่สัมพันธ์กันจะทำให้น้ำไหลย้อนกลับเข้าฝ้าเพดาน หรืออาจล้นทำความเสียหายกับบ้านข้างเคียงได้ ซึ่งหากการสร้างบ้านโดยไม่คำนึงถึงระยะร่นที่ถูกต้องก็อาจเกิดปัญหาบานปลายกับเพื่อนบ้านได้ ซึ่งกฎหมายควบคุมอาคาร ข้อ 50 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543)ฯ “กำหนดให้ แนวผนังอาคารต้องร่นจากเขตที่ดินข้างเคียงไม่น้อยกว่า 0.50 ม. และเป็นผนังทึบ” ในส่วนนี้หากมีบริษัทรับสร้างบ้านดูแลเขียนแบบให้ก็หายห่วง



  1. วัสดุของรางน้ำแต่ละประเภท

เคล็ดลับในการเลือกวัสดุ ต้องดูลักษณะการใช้งาน อายุการใช้งาน ที่สำคัญต้องเหมาะกับสไตล์การตกแต่งบ้านด้วย โดยวัสดุแต่ละประเภทมีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป ดังนี้

  • อะลูมิเนียม จัดเป็นวัสดุที่คงทนแข็งแรง ไม่เป็นสนิมง่าย ไม่ผุกร่อน เพราะการสั่งทำเป็นงานชิ้นเดียว รอยต่อน้อย ที่สำคัญน้ำหนักเบา แต่ราคาค่อนข้างสูง
  • สเตนเลส คงทนแข็งแรง แต่หากเทียบอายุการใช้งานกับงานอะลูมิเนียมจะต่างกัน คือสเตนเลสอายุการใช้งานประมาณ 10 ปี ส่วนอะลูมิเนียมอายุการใช้งานประมาณ 25 ปี ดังนั้นต้องเลือกเกรดสเตนเลสเพื่อให้ทนต่อความเป็นกรดเป็นด่าง รวมถึงต้องพิถีพิถันในงานเชื่อมเพื่อป้องกันสนิมด้วย
  • ไฟเบอร์กลาส ดูจะเป็นวัสดุที่มักพบเห็นจากบ้านตัวอย่างของบริษัทรับสร้างบ้านต่างๆ เพราะด้วยรูปทรง ลักษณะที่ส่งเสริมให้บ้านดูแพงโดดเด่น อีกทั้งไฟเบอร์กลาสยังมีคุณสมบัติที่ไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมี ไม่ผุกร่อนง่าย จึงเป็นอีกความมั่นใจที่การันตีว่าบ้านจะไม่มีปัญหารั่วซึม หรือความชื้นสะสมแน่นอน ปลอดภัยไปถึงสุขภาพของคนในบ้านอีกด้วย
  • พีวีซี แน่นอนว่าการสร้างบ้านสิ่งที่จำเป็นคือวัสดุต้องหาง่ายตามท้องตลาด ราคาไม่แพง ไม่ผุกร่อนง่าย และเป็นวัสดุที่พัฒนามาจากพลาสติกจึงหมดปัญหารั่วซึม อายุการใช้งานประมาณ 10 ปี

  1. การติดตั้งรางน้ำ

หากเลือกวัสดุที่ได้มาตรฐาน ตรงกับการใช้งานแล้ว การติดตั้งโดยช่างผู้เชี่ยวชาญ หรือ บริษัทรับสร้างบ้านที่มีความเข้าใจในความเฉพาะของแต่ละวัสดุก็จะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานมากขึ้นไปอีก

ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นเมื่อมีการออกแบบสร้างบ้านจะต้องใส่ฟังก์ชันของรางน้ำเข้าไปด้วย โดยในส่วนของรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับขนาดของรางน้ำที่เหมาะสม ความสามารถในการรองรับและระบายน้ำฝนได้อย่างดีมีมาตรฐานนั้น ต้องอาศัยความชำนาญในการคำนวณออกแบบของผู้เชี่ยวชาญ เพราะแต่ละภูมิภาคย่อมมีปริมาณฝนที่ต่างกัน ทำให้การสร้างบ้านและออกแบบรางน้ำควรสอดคล้องกับปริมาณฝนและภูมิอากาศแต่ละพื้นที่

แน่นอนว่าปัญหารั่วซึมต่างๆ จะเห็นปัญหาก็ตอนหลังเข้าอยู่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเราเองก็ไม่อาจเช็กรอยรั่วได้ด้วยตัวเองทั้งหมด สิ่งหนึ่งที่สามารถทำได้คือ ป้องกันสิ่งสกปรกอุดตัน เช่น ใบไม้ ใบหญ้า ต่างๆ ที่อาจอุดตันรางน้ำ เพื่อลดการล้นและย้อนกลับเข้าหลังคา

 

สนับสนุนบทความโดย

บริษัท เพอร์เฟค เฮาส์ แอนด์ ดีซายน์ จำกัด

99/80 ซอยแจ้งวัฒนะ 12 แยก 4-7-2 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

โทรศัพท์ : 0 2573 1908-9

เว็บไซต์ : www.perfectdee.com 

สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

Home Builder Association

เลขที่ 2 ซอยลาดปลาเค้า 10 แขวงลาดพร้าว

เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

 : info@hba-th.org

 : 0-2570-0153,0-2940-2744

  : 0-2570-0154