บริษัท รับสร้างบ้าน

บริษัทรับสร้างบ้าน รับสร้างบ้าน สร้างบ้าน สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

เทคนิคดูแลระบบกันซึม สำหรับบ้านสร้างสวนดาดฟ้า

25
ก.ค.
2565

 

 

ปัญหารั่วซึมสำหรับบ้านที่มีดาดฟ้า ถือเป็นปัญหาคู่มากับบ้านเสมือนเงาตามตัว ยิ่งถ้าเป็นบ้านที่ไม่มีมาตรฐานการสร้างยิ่งเสี่ยงคูณสอง เพราะพื้นดาดฟ้าต้องทำหน้าที่เป็นหลังคาไปในตัวจึงต้องเจอทั้งแดดและฝน ทำให้เกิดปัญหาน้ำรั่วซึมได้ง่าย ซึ่งสาเหตุมีด้วยกันหลายประการ ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจถึงปัญหาการซึมและเทคนิคดูแลระบบกันซึมไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้ได้สวนดาดฟ้าสวยๆ ปราศจากปัญหารั่วซึมกวนใจ

 

เทคนิคดูแลระบบกันซึม สำหรับบ้านสร้างสวนดาดฟ้า

 
1. วางแผนระบบกันซึมให้ดีก่อนเริ่มสร้างดาดฟ้า

แม้มองด้วยตาเปล่าจะเห็นว่าโครงสร้างของบ้านและดาดฟ้าดูแน่นหนาแข็งแรงดี แต่ความจริงแล้วอาจมีปัญหาน้ำรั่วซึมที่สามารถซึมผ่านรูพรุนของเนื้อคอนกรีตได้ ดังนั้นเมื่อฝนตกหากบริเวณดาดฟ้าไม่ได้ทากันซึมไว้จะทำให้เกิดปัญหาน้ำรั่วซึมผ่านเข้ามาตามรูพรุนของคอนกรีตได้

ดังนั้นเมื่อคิดจะทำสร้างบ้านที่มีสวนดาดฟ้า ต้องมีการวางแผนระบบกันซึมให้ดี เพื่อเตรียมรับมือกับการรั่วซึมของดาดฟ้า รวมทั้งต้องใช้บริษัทรับสร้างบ้านที่มีความเชี่ยวชาญในการก่อสร้างบ้านสไตล์นี้ เพื่อให้ได้บ้านที่มีสวนดาดฟ้าที่ปลอดภัยและไร้ปัญหากวนใจในอนาคต

 
2. รอยแตกร้าวปัญหาหลักที่มาคู่กับดาดฟ้า

ปัญหารอยแตกร้าวที่ทำให้เกิดการรั่วซึมนั้น เกิดจากหลายปัจจัย ต่างๆ เช่น

  • ดาดฟ้าเจอลม ฝน แดดจัด ความเย็น หรืออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้พื้นผิวคอนกรีตเกิดการยืดตัวและหดตัวจนเกิดเป็นรอยร้าวขึ้น
  • มีรอยร้าวที่เกิดจากการทรุดตัวของอาคาร จากน้ำหนักบรรทุกเกินมาตรฐานอย่างการตั้งแท้งค์น้ำที่มีน้ำหนักมากๆ หรือออกแบบเหล็กเสริมไม่เพียงพอ
  • การก่อสร้างหรือต่อเติมดาดฟ้าโดยไม่ได้มาตรฐาน
  • การใช้วัสดุยาแนวบริเวณรอยต่อของวัสดุอย่างไม่เหมาะสม หรือวัสดุยาแนวไม่มีคุณภาพ เกิดการเสื่อมสภาพ

ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุให้น้ำสามารถไหลซึมผ่านดาดฟ้าเข้ามาภายในตัวบ้านหรืออาคารได้ หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รีบจัดการซ่อมแซมรอยร้าวเหล่านี้ก็จะยิ่งขยายตัวเพิ่มมากขึ้นจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ในที่สุด

ดังนั้นเมื่อมีฝันอยากจะมีสวนดาดฟ้า ต้องปรึกษาวางแผนก่อสร้างกับบริษัทรับสร้างบ้านที่มีประสบการณ์ด้านสร้างดาดฟ้า และมีผลงานที่การันตีความเป็นมืออาชีพ เพราะปัญหาเชิงโครงสร้างป้องกันง่าย แต่แก้ไขได้ยาก

 

 
3. ดูแลระบบระบายน้ำอย่างสม่ำเสมอ ลดปัญหาการรั่วซึม

บางบ้านพบว่าแม้ทากันซึมเอาไว้อย่างดีแล้วแต่ยังเจอปัญหาน้ำรั่วซึมได้อีก ให้ลองตรวจสอบรางระบายน้ำหรือท่อระบายน้ำต่างๆ ที่อยู่บนดาดฟ้าว่ามีการอุดตันจากสิ่งสกปรก ตะไคร่น้ำ หรือเศษกิ่งไม้ ใบไม้ที่ทับถมกันหรือไม่ ซึ่งดาดฟ้าที่อาจไม่ได้ใช้งาน หรือไม่ได้ขึ้นไปตรวจสอบความเรียบร้อยและทำความสะอาดมากนัก มักจะเจอการอุดตัน จนทำให้น้ำไม่สามารถระบายได้สะดวก ซึ่งเป็นอีกสาเหตุของปัญหาดาดฟ้ารั่วซึม

 
4. ใช้ผลิตภัณฑ์กันซึมให้ถูกประเภท

หากต้องการทาสีกันซึมดาดฟ้า สิ่งแรกที่ต้องทำความเข้าใจก่อน คือ ระบบกันซึมดาดฟ้านั้นมีอยู่หลากหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็มีลักษณะการใช้งาน คุณสมบัติ และความโดดเด่นแตกต่างกันออกไป แต่คุณสมบัติหลักๆ ที่เหมือนกันของ กันซึมดาดฟ้า คือสามารถปกปิดรอยแตกร้าวและป้องกันการรั่วซึมได้ มีความยืดหยุ่นสูงเพื่อช่วยสมานรอยแตกร้าว และมีทั้งแบบที่ใช้ภายในและภายนอกอาคาร แต่สำหรับบริเวณดาดฟ้าแล้ว ระบบกันซึมที่เป็นที่นิยมมีดังนี้

  • ระบบกันซึมดาดฟ้าแบบอะคริลิก : ACRYLIC WATERPROOF มีคุณสมบัติยืดหยุ่นสูงเป็นพิเศษ สามารถปกปิดรอยแตกร้าวได้ดี ช่วยลดปัญหาการขยายตัวของชั้นปูน ทนทานต่อสภาพอากาศที่แปรปรวน ทนต่อรังสียูวี อุณหภูมิ และแรงขีดข่วนได้อย่างดีเยี่ยม มีแรงยึดเกาะสูง สามารถยึดเกาะได้ดีกับพื้นผิวแทบทุกประเภท อีกทั้งยังน้ำหนักเบา ไม่เป็นภาระกับโครงสร้าง
  • ระบบกันซึมดาดฟ้าแบบโพลียูริเทน : POLYURETHANE โพลียูริเทน หรือ PU เป็นวัสดุกันซึมดาดฟ้าที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันน้ำรั่วซึมสูงเพราะผลิตมาจากยางสังเคราะห์ มีแรงยึดเกาะสูงต่อพื้นผิวหลากหลายประเภท มีความยืดหยุ่นและค่าทนแรงดึงสูง ทนต่อการฉีกขาดและต่อสารเคมีได้ดี นอกจากนี้ยังทนทานต่อน้ำและรังสียูวี ช่วยปกปิดรอยแตกร้าวจากอุณหภูมิและสภาพอากาศที่รุนแรงได้ จึงเหมาะกับงานกันซึมบริเวณดาดฟ้าอาคารมาก
  • ระบบกันซึมดาดฟ้าแบบเมมเบรน : MEMBRANE WATERPROOF เป็นระบบกันซึมดาดฟ้า ที่มีประสิทธิภาพสูงไม่แพ้การกันซึมแบบอื่นๆ เพราะลักษณะของการกันซึมรูปแบบนี้จะเป็นกันซึมแบบแผ่นเมมเบรนที่ผลิตจากยาง มีความบางแต่ขนาดค่อนข้างใหญ่ นำมาแปะบนพื้นผิวดาดฟ้าเรียงต่อกันอย่างมิดชิด ซึ่งเป็นวิธีติดตั้งที่ค่อนข้างง่ายดายและรวดเร็ว
  • ระบบกันซึมดาดฟ้าแบบบิทูมินัส : BITUMINOUS WATERPROOF บิทูมินัส หรือยางมะตอยที่เราคุ้นเคยกันดีนี้จะมีสารผสมที่เรียกกันว่าสารบิทูเมน มีลักษณะเป็นของเหลวกึ่งแข็ง จึงมีความยืดหยุ่นสูงมาก รวมทั้งมีแรงยึดเกาะสูงกับพื้นผิวแทบทุกประเภท สามารถใช้ได้ดีแม้กับพื้นที่เปียกชื้น หรือพื้นที่ที่มีน้ำขัง มีความแข็งแรงทนทานมาก ฉีกขาดยาก สามารถป้องกันการรั่วซึมได้อย่างดีเยี่ยม

 

เรื่องรั่วซึมเป็นปัญหาที่ป้องกันง่ายแต่แก้ยาก ดังนั้นหากเรามีฝันที่จะทำสวนดาดฟ้า ให้วางแผนการสร้างไว้ตั้งแต่ต้น เลือกใช้บริการบริษัทรับสร้างบ้านที่มีผลงานด้านนี้โดยตรง จะทำให้สวนดาดฟ้าของเราสวยงาม ยั่งยืน ปราศจากปัญหารั่วซึมกวนใจในระยะยาว

 

สนับสนุนบทความโดย

บริษัท เพอร์เฟค เฮาส์ แอนด์ ดีซายน์ จำกัด

99/80 ซอยแจ้งวัฒนะ 12 แยก 4-7-2 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

โทรศัพท์ : 0 2573 1908-9

เว็บไซต์ : www.perfectdee.com 

 

สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

Home Builder Association

เลขที่ 2 ซอยลาดปลาเค้า 10 แขวงลาดพร้าว

เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

 : info@hba-th.org

 : 0-2570-0153,0-2940-2744

  : 0-2570-0154