Page 17 - คู่มือมาตรฐานงานก่อสร้างบ้านพักอาศัย
P. 17
ตัวอย่างการวางแผนการตอกเสาเข็ม
4) ผู้ควบคุมงาน ต้องวัดระยะแนวดิ่งของศูนย์ให้ตรงกับศูนย์เสาเข็ม
5) ผู้ควบคุมงาน ควบคุมการตอกพร้อมวัดระยะการล้มดิ่งทั้ง 2 แนวแกน เพื่อควบคุม ความคลาดเคลื่อนและ
สามารถแก้ไขได้ทันท่วงที
6) เมื่อได้ความลึกที่ต้องการหรือก าลังของเสาเข็มเพียงพอแล้วจึงท าการหยุดตอก
ค. ขั้นตอนกำรตอกเสำเข็มยำว
เสาเข็มยาวถูกใช้ในพื้นที่ที่ชั้นดินส่วนบนเป็นดินอ่อน ซึ่งมีการยุบตัวสูงไม่สามารถรับน้ าหนักของโครงสร้างได้
และมีชั้นดินแข็งอยู่ลึกลงไปมาก อยู่ในช่วงความลึกเฉลี่ยประมาณ 16 – 21 เมตร ซึ่งต้องใช้การต่อเสาเข็มยาวมากกว่า
1 ท่อน
1) ก่อนท าการตอกเสาเข็ม ต้องมีการท าแผนผังการตอกเข็ม และได้รับการอนุมัติก่อนด าเนินการ
2) ต าแหน่ง ค่าพิกัด (coordinate) ของเสาเข็ม ต้องได้รับการตรวจสอบ และยืนยันตามแบบก่อสร้าง โดย
อ้างอิงจากหมุดอ้างอิง มีการท าระยะออฟเซ็ท (offset) ของต าแหน่งเสาเข็มและหมุด
3) ความสมบูรณ์และคุณสมบัติของเข็มที่จะน ามาตอกต้องตรงกับที่ระบุในแบบก่อสร้าง
4) การเตรียมหมอนรองรับหัวเข็มครอบหัวเข็มเพื่อป้องกันเข็มแตกระหว่างการตอก ซึ่งการตอกลูกตุ้มต้องลง
เต็มหน้าและได้ฉากกับหัวเข็มเพื่อไม่ท าให้เข็มเสียหาย
6