Page 224 - คู่มือมาตรฐานงานก่อสร้างบ้านพักอาศัย
P. 224
2) สายไฟฟ้าชนิดที่ใช้เดินภายในอาคารห้ามน าไปใช้เดินนอกอาคาร เพราะแสงแดดจะท าให้ฉนวนแตก
รอบช ารุด สายไฟชนิดที่ใช้เดินนอกอาคารมักจะมีการเติมสารป้องกันแสงแดดไว้ในเปลือกหรือฉนวนของสาย สาร
ป้องกันแสงแดดส่วนใหญ่ที่ใช้กันมากนั้นจะเป็นสีด า แต่อาจจะเป็นสีอื่นก็ได้ การเดินร้อยในท่อก็มีส่วนช่วยป้องกันฉนวน
ของสายจากแสงแดดได้ในระดับหนึ่ง
3) การเลือกใช้ชนิดของสายไฟต้องเหมาะสมกับสภาพการติดตั้งใช้งาน เช่น สายไฟชนิดอ่อนห้าม
น าไปใช้เดินยึดติดกับผนังหรือลากผ่านบริเวณที่มีการกดทับสาย เช่น ลอดผ่านบานพับ ประตู หน้าต่าง หรือตู้ เนื่องจาก
ฉนวนของสายไม่สามารถรับแรงกดกระแทกจากอุปกรณ์จับยึดสายหรือบานพับได้ การเดินสายใต้ดินก็ต้องใช้ชนิดที่เป็น
สายใต้ดิน (เช่น สายชนิด NYY) พร้อมทั้งมีการเดินร้อยในท่อเพื่อป้องกันสายใต้ดินไม่ให้เสียหาย เป็นต้น
4) ขนาดของสายไฟฟ้า ต้องใช้สายตัวน าทองแดงและเลือกให้เหมาะสมกับขนาดแรงดันไฟฟ้า (1เฟส
หรือ 3 เฟส) ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้งาน และสอดคล้องกับขนาดของฟิวส์หรือสวิทซ์อัตโนมัติ (เบรกเกอร์)ที่ใช้ ส าหรับ
ขนาดสายเมนและสายต่อหลักดินต้องสอดคล้องกับขนาดของเมนสวิทซ์และขนาดของเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าด้วย ตาม
ตารางต่อไปนี้
ขนาด ขนาดสูงสุด
ขนาดต ่าสุดของสายเมนและ (สายต่อหลักดิน) (ตร.มม.) แรงดันไฟฟ้าของสายเมน
เครื่องวัด เฟส ของเมนสวิตซ์
(โวลต์)
(แอมแปร์) (แอมแปร์) สายเมนในอากาศ สายเมนในท่อ
4(10), กรณีเดินในท่อฝังดินต้อง
5(15) 1 16 4(10) 300
ไม่เล็กกว่า 10(10)
15(45) 1 50 10(10) 16(10) 300
30(100) 1 100 25(10) 50(16) 300
50(150) 1 125 35(10) 70(25) 300
5(45) 3 50 10(10) 16(10) 750
30(100) 3 100 25(10) 50(16) 750
50(150) 3 125 35(10) 70(25) 750
200 3 250 95(25) 150(35) 750
400 3 500 240(50) 500(70) 750
ขนาดสายไฟฟ้าตามขนาดของเมนสวิทซ์
213