Page 89 - คู่มือมาตรฐานงานก่อสร้างบ้านพักอาศัย
P. 89
โครงหลังคาได้ระดับเท่ากัน
4) ตรวจสอบความลาดเอียงขององศาและระยะยื่นของปลายจันทัน ให้ตรงตามแบบก่อสร้างที่ได้รับจาก
ผู้ออกแบบ
5) ตรวจสอบการแอ่นตัวของโครงหลังคา โดยต้องไม่เกินค่าที่ออกแบบไว้หรือไม่เกิน L/360 โดยที่ L เป็นช่วง
ความยาวของโครงหลังคา
กำรปรับปรุงแก้ไขและข้อควรระวังในกำรท ำงำน
1) หากพบเหล็กโครงหลังคาเมื่อไม่ได้ระดับ ให้ท าการแก้ไขและเชื่อมใหม่ให้ได้ระดับ
2) กรณีการท าสีกันสนิมที่มีความหนาน้อยเกินไป อาจท าให้เกิดสนิมได้ ควรท าการชุบหรือทาสีซ้ าให้ตลอดความ
ยาวเหล็ก
3) ระดับของโครงหลังคาต้องวัดระดับ และตรวจสอบตลอดการติดตั้งอย่างถี่ถ้วน เนื่องจากหากระดับโครงหลังคา
ผิด ส่งผลต่อการติดตั้งกระเบื้องตลอดทั้งหลังคา
4) เหล็กโครงหลังคา ไม่ควรเป็นสนิม และได้รับการท าสีกันสนิมเรียบร้อยแล้ว เพราะโครงหลังคาเป็นส่วนที่
สัมผัสกับความชื้น
5) การเลือกใช้วัสดุและชนิดของอุปกรณ์ส าหรับงานโครงโลหะโครงสร้าง ให้ตรงตามข้อก าหนดในแบบก่อสร้าง
หรือรายการประกอบแบบ เช่น เหล็กพรีกัลวาไนซ์ (เหล็กซิงค์ GL) เป็นเหล็กเคลือบสังกะสีแล้วน ามาขึ้นรูปเป็นเหล็ก
รูปพรรณ คุณสมบัติของเหล็กชนิดนี้คือมีความแข็งแรง น้ าหนักเบา สามารถทนต่อการเกิดสนิมได้
6) ขั้นตอนการด าเนินงานตรงตามข้อก าหนดในแบบก่อสร้างหรือรายการประกอบแบบ เช่น การเชื่อมจันทันกับ
ตะเข้รางต้องเชื่อมยาวตลอดแนวที่ผิวเหล็กสัมผัสกันและรอยเชื่อมต้องมีความหนา 3 มิลลิเมตร
7) การตรวจสอบคุณภาพงานโครงโลหะโครงสร้าง เช่น ตรวจสอบการแอ่นตัวของโครงหลังคาโดยต้องไม่เกินค่าที่
ออกแบบไว้หรือไม่เกิน L/360 โดยที่ L เป็นช่วงความยาวของโครงหลังคา
78