Page 91 - คู่มือมาตรฐานงานก่อสร้างบ้านพักอาศัย
P. 91
บทที่ 6
งำนฉนวนกันควำมร้อนและงำนมุงหลังคำ
งำนฉนวนกันควำมร้อน
ฉนวนกันความร้อน มีหน้าที่ป้องกันความร้อนเข้าสู่ภายในตัวอาคารที่ติดตั้ง การติดตั้งฉนวนป้องกันความร้อนที่มี
คุณภาพและมีอายุการใช้งานอย่างยาวนาน สามารถป้องกันความร้อนได้ดี นอกจากนี้งานฉนวนต้องติดตั้งอย่างถูกวิธี
ตามข้อก าหนดของผู้ผลิตและชนิดของฉนวนนั้น ๆ
ฉนวนกันควำมร้อน ต้องผ่านการตรวจสอบเรื่องการไม่ลามไฟของฉนวนให้สอดคล้องกับข้อก าหนด ASTM E84
หรือเทียบเท่า (ปัจจุบันยังไม่มีฉนวนทนไฟ) และฉนวนต้องมีความสามารถในการอุ้มน้ าน้อย และต้านทานความชื้น การ
พิจารณาความสามารถในการป้องกันความร้อน ต้องเทียบในอัตราส่วนพื้นที่ต่อฉนวนเท่า ๆ กัน
ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา ประเภทต่าง ๆ
ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาที่นิยมใช้ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิด
1) ฉนวนใยแก้ว ผลิตจากใยแก้วละเอียดผสมกาว ใช้ปูใต้หลังคาเหนือฝ้าเพดานและหลังคาใต้แผ่นพื้นทั่วไป มี
แผ่นฟิล์มสะท้อนแสงหุ้มโดยรอบ ฉนวนใยแก้วใช้ในบริเวณใต้หลังคา ผลิตจากเส้นใยแก้วขนาดเล็กละเอียดโดยเส้นผ่าน
ศูนย์กลางของเส้นใยแก้ว 7 ไมโครเมตร มีความสามารถในการเป็นฉนวนความร้อนและดูดซับเสียงได้ดีห่อหุ้มด้วย
อลูมิเนียมฟอยล์ โดยปกติจะก าหนดให้ใช้ชนิดที่มีอลูมิเนียมฟอยล์ ความหนา 50 มิลลิเมตร ความหนาแน่นประมาณ 24
กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
2) ฉนวน (Polyurethane Foam) หรือ PU foam มักใช้ในบริเวณใต้หลังคาและพื้นห้อง computer ซึ่งมีทั้ง
ระบบฉีดพ่นและชนิดที่ฉีดส าเร็จแล้วลงบนวัสดุแล้วเช่น หลังคาเมทีลชีทที่ผลิตมาพร้อมกับการยึดติดด้วยฉนวน PU
foam ซึ่งมีความสามารถในการยึดเกาะสูงและสามารถป้องกันความร้อนและช่วยลดเสียงด้วยการดูดซับเสียงได้
นอกจากนี้ฉนวนกันความร้อน PU foam ยังมีความแข็งแรงเมื่อเทียบกับความหนาของฉนวนชนิดอื่น ๆ และสามารถใช้
งานได้ระยะยาวนานมากกว่า 30 ปี ป้องกันการรั่วซึมและความชื้นได้
3) แผ่นสะท้อนรังสีความร้อน แผ่นสะท้อนรังสีความร้อนเป็นวัสดุแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ ใช้ติดตั้งใต้กระเบื้องมุง
หลังคา (บนแป) ความหนา 150 ไมครอนซึ่งจะช่วยลดความร้อนจากการแผ่รังสีได้มากกว่า 90%
80