บริษัท รับสร้างบ้าน

บริษัทรับสร้างบ้าน รับสร้างบ้าน สร้างบ้าน สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

รู้ก่อนเลือก .. สาเหตุที่ผู้รับเหมาทิ้งงาน

11
ธ.ค.
2562

สำหรับคนที่จะสร้างบ้านเอง การหาผู้รับเหมาสักราย เดี๋ยวนี้อาจจะไม้ใช่เรื่องยาก เพราะค้นหาได้ตามอินเตอร์เน็ต แต่ปัญหาของการ "ทิ้งงาน" ยังเป็นเรื่องที่เราควบคุมไม่ได้ เพื่อไม่ให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น ลองมาดูสาเหตุที่ผู้รับเหมามักจะทิ้งงาน เพื่อกันไว้ก่อนครับ

1. เลือกผู้รับเหมาราคาต่ำที่สุด

เจ้าของบ้านส่วนใหญ่ โดยเฉพาะผู้ที่มีงบประมาณจำกัด มักจะเลือกจ้างผู้รับเหมารายที่เสนอราคาที่ต่ำที่สุด ซึ่งตรงนี้อาจจะเสี่ยงเมื่อผู้รับเหมาเริ่มทำงานและคิดว่าได้ไม่คุ้มเสีย อาจะทำให้ทิ้งงานไปได้ ดังนั้นเจ้าของบ้านควรเปรียบเทียบราคาหลายๆราย เพื่อดูราคากลางที่สมเหตุสมผล เมื่อเปรียบเทียบแล้ว ไม่ควรเลือกจากราคาที่ต่ำจนเกินไป หรือควรให้ผู้รับเหมาชี้แจงรายละเอียดแล้วพิจารณา ความสมเหตุสมผลในเนื้องาน

ในกรณีที่ไม่อยากเทียบหลายเจ้า เจ้าของบ้านควรจะเจรจากับผู้รับเหมาได้ในเรื่องของการทำราคาการก่อสร้าง การใช้วัสดุก่อสร้างทดแทน แต่ราคาย่อมเยาว์กว่า แล้วนำมาเปรียบเทียบกับครั้งแรก ก็จะสามารถต่อรองในเรื่องของราคาได้

2. ไม่ได้ตรวจสอบประวัติผู้รับเหมา

การสร้างบ้าน ควรเช็คเครดิตผู้รับเหมา หรือ บริษัทรับสร้างบ้าน ให้มั่นใจก่อนทำสัญญาจ้าง แนะนำว่าควรเลือกผู้รับเหมาที่ได้รับการแนะนำการคนรู้จักที่วางใจได้ และเป็นผู้รับเหมาที่มีผลงานก่อสร้างอยู่จริง มีประวัติผลงานที่สามารถตรวจสอบจากเจ้าของบ้านที่เป็นลูกค้าก่อนหน้านี้

3. ในสัญญาว่าจ้าง ไม่ได้มีมาตรการป้องกันการทิ้งงานที่ดีพอ

เจ้าของบ้านไม่มีที่ปรึกษาที่มีความรู้มากพอ คอยให้คำปรึกษาก่อนเซ็นต์สัญญาว่าจ้าง แต่โดยระบบที่วางไว้คือ ควรจะต้องมีคนคุมงาน อย่าง วิศวกรสถาปนิก คนเหล่านี้เรียนมาโดยเฉพาะทาง มีความรู้ คอยควบคุมแรงงานให้ทำตามแบบ ตามสเป็ค ตามข้อตกลงกับผู้ว่าจ้างได้

 

 

การทำสัญญาควรทำให้ละเอียดเป็นลายลักษณ์อักษรไม่ควรใช้เพียงแค่คำพูดในการสั่งงาน เพราะถ้าหากทำมาผิดจากที่ตกลงกันก็จะมีหลักฐานไว้สำหรับยืนยันกับผู้รับเหมาได้

หรือในกรณีที่เจ้าของบ้านเลือกใช้ ผู้รับเหมาสไตล์บ้านๆ (Local Contractor) การคุยงาน หรือ การปรับเปลี่ยนหน้างานนั้น ควรเจรจากับผู้รับเหมาที่ควบคุมงานโดยตรง และเจ้าของบ้านคนใดคนหนึ่ง ควรเป็นคนตัดสินใจ เป็นCenter ในการประสานงานกับผู้รับเหมา เพื่อป้องกันปัญหาการสั่งงานซ้ำซ้อน ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้

4.ผู้รับเหมาบริหารจัดการงานไม่ดี

ปกติเงินงวดแรกจะจ่ายประมาณ 30% หรือจ่ายค่ามัดจำก่อนเริ่มงาน 10% ของค่าก่อสร้างทั้งหมดจากสัญญาว่าจ้างรวมค่าวัสดุก่อสร้าง ซึ่งผู้รับเหมาบางรายนั้นอาจจะวางเครดิตกับทางร้านวัสดุก่อสร้างไว้ ซึ่งเจ้าของบ้านสามารถตรวจสอบกับร้านค้าวัสดุ ว่าผู้รับเหมารายนั้นจ่ายเงินสดหรือเงินเชื่อค้างไว้ ถ้ามีเจตนาที่ไม่ดีทางร้านค้าวัสดุสามารถเป็นหูเป็นตาได้อีกทางหนึ่ง

ปัญหานี้ป้องกันได้โดย

ควรทำบัญชีแสดงปริมาณวัสดุ B.O.Q. (Bill of Quantities) ปริมาณ ราคา แบรนด์สินค้าที่จะสั่งเข้ามาให้ชัดเจนถูกต้องตามแบบที่ต้องการ การจ่ายเงินให้แก่ผู้รับเหมาควรแบ่งจ่ายออกเป็นหลายๆงวด

ในสัญญาควรมีแผนการจ่ายเงินที่ชัดเจนว่างานผ่านไปกี่เปอร์เซ็นต์จะจ่ายอย่างไร เพื่อไม่ให้ถกเถียงกันตอนหลัง และควรทำเป็นลายลักษณ์อักษรให้รับทราบทั้งสองฝ่ายด้วย

5. ปัญหาขาดแคลนคนงาน

ผู้รับเหมาที่ดีก็ต้องมีลูกน้อง ลูกมือ ครบทุกประเภทงาน ทีมงานครบครัน ถึงแม้จะเป็นแรงงานต่างชาติบ้างแต่ก็ดีกว่าขาดแคลนคนงานซึ่งอาจจะส่งผลให้บ้านเสร็จไม่ทันกำหนดการ โดยเฉพาะช่วงเทศกาลและฤดูทำนา

6. ผู้รับเหมาเจอปัญหาไม่คาดคิดระหว่างก่อสร้าง

มักเกิดจากเคสงานซ่อมแซม รีโนเวท ให้มาแก้ปัญหา แต่พอทำไปปัญหาใหญ่และรุนแรงกว่าที่คิด กลัวทำไปแล้วขาดทุนได้ไม่คุ้มเสีย เจ้าของบ้านกับผู้รับเหมาจึงควรต้องพูดคุยทำความเข้าใจและปรับเรื่องราคาให้เหมาะสม ถ้อยทีถ้อยอาศัย

7. ผู้รับเหมารับงานซ้อน

ขอแนะนำให้เลือกใช้ผู้รับเหมาที่อยู่ในพื้นที่ เพราะผู้รับเหมาสามารถลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางและประสิทธิภาพในการหมุนเวียนทีมงานได้ดีขึ้น

จะเห็นได้ว่าการปลูกสร้างบ้านสักหลังหนึ่งจึงต้องพิถีพิถันเป็นพิเศษ ตั้งแต่การเลือกทำเลที่ตั้ง การเลือกแบบบ้าน การเลือกช่างผู้รับเหมาหรือบริษัทรับสร้างบ้านเหล่านี้เป็นต้น

ในปัจจุบันมีบริษัทรับสร้างบ้านอยู่มากมาย แต่การเลือกบริษัทรับสร้างบ้านที่เป็นมืออาชีพจริงๆ จะช่วยให้ได้บ้านดังที่ตั้งใจและไม่ต้องมีปัญหาจุกจิกกวนใจ

ทั้งในระหว่างการก่อสร้างและหลังจากสร้างบ้านเสร็จแล้ว ซึ่งหากไม่ต้องการให้เกิดปัญหาเหล่านี้ การเลือกบริษัทรับสร้างบ้านมืออาชีพแบบครบวงจร หรือเลือกบริษัทที่รองรับโดยสมาคมก็เป็นอีกทางเลือกนึ่งที่จะให้คุณไม่ต้องพบเจอกับปัญหาเหล่านี้ได้

 

 

สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

Home Builder Association

เลขที่ 2 ซอยลาดปลาเค้า 10 แขวงลาดพร้าว

เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

 : info@hba-th.org

 : 0-2570-0153,0-2940-2744

  : 0-2570-0154