บริษัท รับสร้างบ้าน

บริษัทรับสร้างบ้าน รับสร้างบ้าน สร้างบ้าน สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

Courtyard สร้างอย่างไรให้มีเสน่ห์และเสริมบ้านน่าอยู่

10
มิ.ย.
2565

 

 

Courtyard (คอร์ตยาร์ต) คือ พื้นที่สวนที่อยู่กลางบ้าน ซึ่งเป็นพื้นที่เปิดหลังคาโล่ง ไม่มีอะไรคลุม เพื่อดึงเอาธรรมชาติและแสงแดดเข้ามาสู่ภายในบ้าน นอกจากจะทำให้บ้านดูดีมีสไตล์แล้ว ยังเพิ่มความสดชื่นให้ผู้อยู่อาศัยได้อีกด้วย ซึ่งเทรนด์การสร้างสวนกลางบ้านเหมาะกับยุคที่พื้นที่บ้านมีจำกัด เพราะยิ่งพื้นที่บ้านเล็กลงเท่าไหร่ พื้นที่ในการสร้างสวนแบบเดิมก็แทบไม่เหลือ ดังนั้นการประยุกต์สร้างสวนกลางบ้านจึงเป็นอีกแนวทางที่แก้ปัญหาทางด้านพื้นที่ได้เป็นอย่างดี ส่วนจะสร้าง Courtyard อย่างไรให้มีเสน่ห์และเสริมให้บ้านน่าอยู่ เรามีแนวคิดดีๆ มาฝาก

 

Courtyard ต่างกับที่ว่างรอบบ้านอย่างไร?


1. Courtyard เป็นพื้นที่จำกัด โดยจะมีพื้นที่อาคารล้อมรอบอย่างน้อย 3 ด้าน

2. มีระบบในการวางผังที่แตกต่างกัน ซึ่งความยากของ Courtyard คือการรองรับและสามารถแก้ปัญหาธรรมชาติได้เป็นอย่างดี เช่น น้ำฝน แสงแดด และลม

3. Courtyard จะสามารถวางผังไว้กี่ที่ก็ได้ในบ้าน ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของตัวบ้าน

 

 
ข้อควรรู้เพื่อสร้าง Courtyard ให้มีเสน่ห์และเสริมบ้านน่าอยู่


1. วางแผนก่อนจะสร้าง

การสร้าง Courtyard กลางบ้าน ข้อดีคือการได้เปิดรับเอาธรรมชาติเข้าสู่ตัวบ้าน แต่ก็แลกมาด้วยปัญหาน้ำและน้ำฝน ดังนั้นการสร้างสวนกลางบ้านจึงไม่ใช่ว่านึกจะทำก็ทำได้เลย ต้องมีการวางแผนการสร้างไว้แต่ต้น เพราะการมีสวนกลางบ้านจะต้องคำนึงถึงการเปิดช่องแสง เพื่อให้ต้นไม้ในนั้นได้รับแสงธรรมชาติบวกกับอากาศที่จะช่วยในการเติบโต

ดังนั้นการออกแบบบ้านให้เหมาะสมก่อนเริ่มสร้างจึงเป็นจุดที่สำคัญ แม้ว่าการออกแบบบ้านจะเป็นขั้นตอนแรกเริ่มของบ้านทุกสไตล์อยู่แล้ว แต่สำหรับบ้านที่ต้องการมี Courtyard ในการออกแบบต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพราะจะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายๆ อย่าง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาจนต้องรื้อถอนแก้ไขกันวุ่นวายในภายหลัง

 

2. เลือกต้นไม้ให้ถูกชนิด

เรื่องการเลือกต้นไม้มาปลูกที่ Courtyard ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญ เพราะขนาดและชนิดของต้นไม้บางชนิดอาจไม่เหมาะกับการปลูกไว้กลางบ้าน โดยเฉพาะปัญหาเรื่องรากที่อาจจะยาวและชอนไชสร้างความเสียหายกับโครงบ้านได้ ดังนั้นควรเลือกพันธุ์ไม้ที่มีลักษณะการเดินรากหรือมีรากที่ดิ่งลง ใบร่วงน้อย ไม่ต้องการน้ำมาก และทนแล้งได้ดี จะช่วยให้สามารถปลูกต้นไม้เหล่านี้ไว้โชว์ได้อย่างปลอดภัยและสวยงาม



3. เลือกวัสดุการตกแต่งให้เหมาะสม

การเลือกวัสดุตกแต่งสวนนั้นสำคัญพอๆ กับการเลือกต้นไม้ เพราะวัสดุตกแต่งบางประเภทก็ไม่เหมาะกับ Courtyard เช่น ในพื้นที่ที่มีฝนตกชุก วัสดุตกแต่งประเภทไม้หรือหินจะเกิดตะไคร่ได้ง่ายจึงไม่ควรเลือกมาใช้งาน เพราะหลังจากตกแต่งไม่นานความสวยงามของสวนจะลดลง ต้องเสียเวลาทำความสะอาด หรือต้องเปลี่ยนวัสดุใหม่บ่อยๆ ดังนั้นจึงควรเลือกวัสดุที่ง่ายต่อการทำความสะอาด และทนกับสภาพแวดล้อมของบ้านจะเป็นการดี

 

4. เตรียมพร้อมในพื้นที่ดูแลระบบ

สำหรับ Courtyard ที่มีการติดตั้งระบบไฟ ควรออกแบบจัดเตรียมพื้นที่ในส่วนของการดูแลระบบไฟ รวมถึงระบบระบายน้ำ เพื่อให้สามารถดูแลรักษาและแก้ปัญหาได้ง่าย เช่น การทำฝาครอบหรือฝาเปิดให้สามารถจัดการปัญหาเกี่ยวกับการอุดตันของท่อ หรือระบบระบายน้ำ

 

5. ป้องกันปัญหาน้ำจากหลังคา

Courtyard เป็นพื้นที่เปิดด้านบนโล่ง ดังนั้นจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงเรื่องน้ำฝนได้ แต่สามารถวางแผนจัดการป้องกันน้ำไหลจากหลังคาได้ ด้วยการติดตั้งรางน้ำโดยให้ท่อระบายจากรางน้ำต่อตรงไปที่บ่อพักน้ำ เพื่อไม่ให้น้ำฝนไหลจากหลังคาลงสู่พื้นดินบริเวณ Courtyard โดยตรง จนเกิดปัญหาน้ำล้น ดินอุ้มน้ำมากเกินไป หรือต้นไม้ที่ปลูกได้รับน้ำมากจนเกินไป ซึ่งเป็นผลให้รากเน่าได้

 

การมี Courtyard ในบ้านไม่ใช่เรื่องยาก หากเราวางแผนให้ดีตั้งแต่เริ่มขั้นตอนออกแบบสร้างบ้าน ดังนั้นสำหรับว่าที่เจ้าของบ้านที่กำลังสนใจบ้านพร้อม Courtyard ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือ การเลือกบริษัทรับสร้างบ้าน ที่มีผลงานในการสร้าง Courtyard สำเร็จและใช้งานได้จริง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าบ้านของเราจะไม่มี Courtyard แสนเก๋ที่พ่วงมาด้วยสารพันปัญหา สำหรับรายชื่อบริษัทรับสร้างบ้านที่ได้มาตรฐาน มีแบบบ้านหลากหลายให้เลือก มีผลงานการันตี และยังรับผิดชอบงานในราคาคุ้มค่า สามารถดูรายชื่อได้ที่เว็บ สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน 

              

 

สนับสนุนบทความโดย

  

บริษัท มีนบุรีรับสร้างบ้าน คุณภาพ จำกัด

เลขที่ 75/11 ซ.ร่มเกล้า ถ.ร่มเกล้า แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ 10510

โทรศัพท์ : 0 2919 4653

อีเมล : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. 

เว็บไซต์ : www.bannmean.com 

 

 

 

สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

Home Builder Association

เลขที่ 2 ซอยลาดปลาเค้า 10 แขวงลาดพร้าว

เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

 : info@hba-th.org

 : 0-2570-0153,0-2940-2744

  : 0-2570-0154