ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า มุมแต่ละมุม เฟอร์นิเจอร์ ของแต่งบ้าน แต่ละชิ้น ถ้าได้จัดไฟออกแบบความเข้ม-อ่อน องศาการให้แสง ไปจนถึงสีของไฟ จะทำให้บ้านของเรามีมิติ หรูหราได้ในเวลาเดียวกัน
แต่รู้หรือไม่ การเลือกไฟนั้น ไม่เพียงแค่ส่งให้บ้านดูมีมิติหรือหรูหรา แต่ยังมีผลทางจิตวิทยาด้วย โดยมีคำอธิบายตามงานวิจัยของนักจิตวิทยา University of Toronto Scarborough ในแคนาดาและของมหาวิทยาลัย Northwestern University ในสหรัฐฯ ได้พบแง่มุมใหม่เรื่องอิทธิพลของแสงต่ออารมณ์ความรู้สึก กล่าวคือนักวิจัยพบว่าแสงที่ยิ่งสว่างหรือจ้ามากจะมีผลต่อความเข้มข้นรุนแรงของอารมณ์ความรู้สึกเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทั้งในทางบวกและทางลบ โดยทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นฐานความรู้สึกเดิมที่มีต่อสิ่งนั้น ๆ เช่นต่อคำบางคำ ต่อความรู้สึกเผ็ดของอาหาร หรือการมองสิ่งที่สวยงาม เป็นต้น
อีกประเด็นหนึ่งซึ่งนักวิจัยได้พบก็คือ แสงจ้าจะมีอิทธิพลต่อประเภทและคุณภาพการตัดสินใจของคนเราด้วย เพราะแสงที่จ้ามากจะทำให้อารมณ์พลุ่งพล่านรุนแรง ดังนั้นนักวิจัยจึงแนะว่าการตัดสินใจจะเป็นไปอย่างสมเหตุสมผลมากขึ้นและผูกติดกับอารมณ์น้อยลงถ้าหรี่ไฟไม่ให้จ้ามากไป
แน่นอนว่าเมื่อการเลือกใช้ไฟต้องสัมพันธ์กับอารมณ์ความรู้สึกการใช้งานของแต่ละพื้นที่ภายในบ้าน วันนี้ แลนดี้โฮม นำเทคนิคต่าง ๆ มาฝากกันค่ะ
ประเภทของสีไฟ
ปัจจุบันมีการเลือกใช้ไฟอยู่ 3 โทนคือ Warm White (วอร์มไวท์ ) , Day Light (เดย์ไลท์ ) และ Cool White (คลูไวท์ ) ซึ่งมีความแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ วัสดุ ประเภทของโคมที่จะนำไปตกแต่งให้เหมาะกับพื้นที่แต่ละห้อง การใช้งาน 3 โทนสีนี้ มีดังนี้
1.Warm White (วอร์มไวท์)
คือแสงที่ให้แสงเหลืองอมส้ม มีกำลังไฟน้อย หากเทียบกับโทนอื่น จึงมักใช้เป็นไฟสำรองเพื่อใช้ในการประดับของแต่งบ้าน มากกว่าจะใช้เป็นแสงไฟหลักส่องสว่าง ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย อบอุ่น โรแมนติก
2.Day Light (เดย์ไลท์)
เป็นแสงไฟที่ให้ความสว่างมากที่สุดและนิยมใช้มากที่สุด ให้แสงไฟสีขาวอมฟ้า สว่าง ไม่ผิดเพี้ยน ให้ความรู้สึกตื่นตัว กระตือรือร้น
3.Cool White (คลูไวท์)
เป็นแสงไฟที่มีความผสมกันอยู่ระหว่าง Warm White กับ Cool White ให้แสงขาว สว่าง ให้ความรู้สึกสบายตาและมีชีวิตชีวา
เทคนิคเลือกไฟให้เหมาะกับพื้นที่ต่าง ๆ ภายในบ้าน
1.ห้องรับแขก
เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ เป็นห้องที่ต้องการความผ่อนคลาย อบอุ่น ในขณะเดียวกันบางช่วงเวลาอาจถูกใช้เป็นพื้นที่อ่านหนังสือ ดูทีวี ทำกิจกรรมกับสมาชิก สถาปนิกหรือบริษัทรับสร้างบ้านจึงมักใช้ไฟทั้ง 3 โทน Warm White, Day Light และ Cool White ในบริเวณนี้ แต่ใช้เทคนิคการวางไฟไล่ระดับ-ระบบลดหรี่ไฟ เพื่อสลับการใช้งานที่เหมาะสม
2.ห้องครัว
เป็นห้องที่ต้องให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัย แสงไฟต้องส่องสว่างชัดเจนทั้งบริเวณเตรียมอาหาร พื้น ทางเดิน ดังนั้นพื้นที่บริเวณนี้จึงควรเลือกใช้ไฟสีขาว อย่าง Day Light
3.ห้องรับประทานอาหาร
บริเวณต่อเนื่องจากห้องครัว บริเวณนี้สามารถเลือกใช้ได้ทั้ง Day Light และ Warm White เพราะสีเหลืองอมส้มของ Warm White ทำให้บรรยากาศช่วงเวลาของครอบครัวอบอุ่น ผ่อนคลาย รวมถึงสี Warm White ทำให้อาหารน่าทานขึ้นด้วยค่ะ
4.ห้องนอน
เป็นอีกห้องที่ต้องการให้เป็นพื้นที่ ที่ให้ความอบอุ่น ผ่อนคลายเพื่อการพักผ่อน ดังนั้น ห้องนอน จึงควรเลือกใช้ไฟสี Warm White หรือ Cool White ได้ โดยห้องนี้ก็อาจจะมีการใช้ลูกเล่นเทคนิคการวางไฟไล่ระดับ ไฟหลืบบนฝ้า ระบบลดหรี่ไฟ ให้เหมาะกับการใช้เวลาส่วนตัว
5.ห้องทำงาน
พื้นที่นี้หลายบ้านอาจให้เป็นห้องต่อเนื่องจากห้องนอน เพราะต้องการความเป็นส่วนตัวเพื่องานที่ต้องใช้สมาธิ ห้องนี้จึงถูกออกแบบให้เป็นห้องที่แต่งไฟต่างจากห้องนอนโดยสิ้นเชิง พื้นที่ห้องทำงาน ไฟที่เหมาะสมที่สุดคือไฟ Day Light เพราะให้ความรู้สึกที่กระตือรือร้น ตื่นตัว ให้สีที่เป็นธรรมชาติเพื่องานที่ไม่ผิดเพี้ยน แต่ขณะเดียวกัน เราสามารถแบ่งพื้นที่ในห้องนี้ด้วยของแต่งบ้าน หลอดไฟ Warm White เล็ก ๆ เพื่อเป็นการพักสายตาได้ค่ะ
6.ห้องน้ำ
เป็นอีกห้องที่สามารถเลือกใช้ไฟได้ทั้ง 3 โทนเลย เพราะแต่ละมุมในห้องนั้นมีการใช้งานไม่เหมือนกัน อย่างไฟหลักที่ต้องเน้นความปลอดภัย ให้ความสว่างกับอุปกรณ์เครื่องใช้ เครื่องหอม ฯลฯ ควรใช้ Day Light แต่บางมุมอย่าง มุมแช่ตัวที่ต้องการความผ่อนคลายเลือกเป็น Warm White หรือ Cool White ก็ย่อมได้ ซึ่งห้องนี้เองก็เป็นอีกห้องที่มีช่องลมเปิดเพื่อระบายอากาศและรับแสงธรรมชาติ การวางแสง Day Light จึงถูกออกแบบมาเพื่อสลับกับการใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติได้
เทคนิคเลือกไฟให้เหมาะกับพื้นที่ต่าง ๆ ภายในบ้านอาจปรับเปลี่ยนเมื่อเจ้าของบ้านเจอรูปแบบเฟอร์นิเจอร์ใหม่ Chandelier ที่ถูกใจกว่าเดิม หรือ ข้อจำกัดของวัสดุอุปกรณ์นั้น ๆ แต่เหนือสิ่งอื่นใด การปรับเปลี่ยนจะต้องคำนึงถึง ประโยชน์การใช้งานเพราะสีของไฟให้ผลต่ออารณ์และความรู้สึกได้จริง ควรปรึกษาบริษัทรับสร้างบ้านที่ใช้บริการก่อนการเปลี่ยนแปลงดีที่สุดค่ะ ยังมีบทความดี ๆ เกี่ยวกับบ้านที่ แลนดี้โฮม จะได้นำมาฝากอีกในโอกาสหน้า โปรดติดตามค่ะ
สนับสนุนบทความโดย