บริษัท รับสร้างบ้าน

บริษัทรับสร้างบ้าน รับสร้างบ้าน สร้างบ้าน สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

ต่อเติมรั้วบ้านสูงได้แค่ไหน ต้องขออนุญาตหรือไม่

26
ก.พ.
2567


 

รั้ว คือตัวบ่งบอกอาณาเขต สไตล์ แสดงให้เห็นถึงความปลอดภัยของบ้านเราได้อีกด้วย จะน่าเกรงขามหรือไม่ ให้รั้วเป็นคำตอบ แต่ การจะสร้างรั้วใหม่นั้น เราจะต้องดูพื้นที่ข้างเคียง หรือ บ้านข้างเคียงเป็นส่วนประกอบด้วย หากเป็นพื้นที่ว่าง การสร้างรั้วใหม่อาจจะพบปัญหาไม่มากนัก แต่หากเพื่อนบ้านมีรั้วแล้ว ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเจรจากัน การต่อเติมรั้วบ้านมีข้อกำหนดที่ต้องปฏิบัติเฉพาะ รั้วบ้านเรานั้นจะสูงได้แค่ไหน ต้องขออนุญาตหรือไม่ วันนี้ สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน นำข้อมูลดีดีมาฝากค่ะ

ทำไมต้องขออนุญาต

เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน รั้ว จัดอยู่ในคำนิยามของ คำว่า อาคาร ตามมาตรา 4 ในพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่ว่า

“อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน และสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ และหมายความรวมถึง

• อัฒจันทร์หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นเพื่อใช้เป็นที่ชุมชมของประชาชน

• เขื่อน สะพาน อุโมงค์ ทางหรือท่อระบายน้ำ อู่เรือ คานเรือ ท่าน้ำ ท่าจอดเรือ รั้ว กำแพง หรือประตู ที่สร้างขึ้นติดต่อหรือใกล้เคียงกับที่สาธารณะหรือสิ่งที่สร้างให้บุคคลทั่วไปใช้สอย

• ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้าย

- ที่ติดหรือตั้งไว้เหนือที่สาธารณะและมีขนาดเกินหนึ่งตารางเมตร หรือมีน้ำหนักรวมทั้งโครงสร้างเกินสิบกิโลกรัม

- ที่ติดหรือตั้งไว้ในระยะห่างจากที่สาธารณะซึ่งเมื่อวัดในทางราบแล้วระยะห่างจากที่สาธารณะมีน้อยกว่าความสูงของป้ายนั้นเมื่อวัดจากพื้นดิน และมีขนาดหรือมีน้ำหนักเกินกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง

• พื้นที่หรือสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถสำหรับอาคารที่กำหนดตามมาตรา 8(9)

• สิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ดังนั้นตามคำนิยามของ พรบ.ควบคุมอาคาร เราจึงได้คำตอบต่อข้อสงสัยที่ว่า การสร้างรั้วนั้น จำเป็นจะต้องทำการอนุญาต แต่ในรายละเอียดคำขยายนั้นยังมีคำว่า “ที่สร้างขึ้นติดต่อหรือใกล้เคียงกับที่สาธารณะหรือสิ่งที่สร้างให้บุคคลทั่วไปใช้สอย” จึงสรุปความได้เพิ่มเติมว่า หากเป็นการสร้างรั้วติดกับที่ดินเอกชนด้วยกันไม่ต้องขออนุญาต

ความสูงรั้วบ้านใกล้เคียงที่ดินสาธารณะ

หากการสร้างบ้านคุณภาพของเราในครั้งนี้ มีพื้นที่ข้างเคียงติดต่อพื้นที่สาธารณะ การสร้างรั้วจะต้องเป็นไปตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ในหมวด 4 แนวอาคารและระยะต่าง ๆ ของอาคารดังนี้

ข้อ 47 รั้วหรือกำแพง ที่สร้างขึ้นติดต่อหรือห่างจากถนนสาธารณะน้อยกว่าความสูงของรั้ว ให้ก่อสร้างได้สูงไม่เกิน 3 เมตร เหนือระดับทางเท้าหรือถนนสาธารณะ

แต่ในข้อจำกัดของพื้นที่พิเศษอย่าง กรุงเทพมหานครมีข้อบัญญัติ เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 แนบเพิ่มเติมเพื่อกำกับความสูงของรั้ว ในข้อ 50 ว่า “อาคารที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงใกล้ถนนสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่า 6 เมตรให้ร่นแนวอาคารห่างจาก กึ่งกลางถนนสาธารณะอย่างน้อย 3 เมตร มิให้มีส่วนของอาคารล้ำเข้ามาในแนวร่นดังกล่าว ยกเว้นรั้วหรือกำแพงกันแนวเขตที่สูงไม่เกิน 2 เมตร”

ต่อเติมรั้วบ้านสูงได้แค่ไหน ต้องขออนุญาตหรือไม่

ดังนั้นเพื่อความเข้าใจง่าย ๆ จึงสรุปข้อมูลตามที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า การต่อเติมรั้วบ้านนั้น หากพื้นที่ข้างเคียงเป็นพื้นที่สาธารณะ “จำเป็นต้องขออนุญาต” แต่ความสูงนั้นจะต้องเป็นไปตามกฎกระทรวงและข้อบัญญัติควบคุมอาคาร คือ

• หากพื้นที่ข้างเคียงเป็นพื้นที่สาธารณะ สามารถสร้างรั้วสูงได้ไม่เกิน 3 เมตร

• ในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ต้องดูความกว้างของพื้นที่สาธารณะกำกับด้วย หากกว้างน้อยกว่า 6 เมตร จะต้องมีระยะร่นของตัวอาคารเพิ่มเติมด้วย และความสูงของรั้วต้องไม่เกิน 2 เมตร

อย่างไรก็ดี ยังมีอีกกรณีคือ พื้นที่ข้างเคียงเป็นพื้นที่เอกชนด้วยกัน ส่วนนี้หากมีการสร้างรั้วจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องต้องมีการบอกกล่าวและหาข้อตกลงร่วมกัน เพราะรั้วถือเป็นทรัพย์ร่วมกัน(โดยใช้หมุดที่ดินเป็นตัวตั้ง) แต่หากการสร้างรั้วร่นมาให้พื้นที่ของตัวเองก็สามารถสร้างเองได้ โดยไม่ต้องข้ออนุญาต เว้นแต่หากรั้วสูงเกิน 10 เมตร พรบ. จะจัดเป็นอาคาร และต้องขออนุญาตค่ะ

เรื่องการขออนุญาตให้เป็นไปตาม กฎกระทรวง พระราชบัญญัติ การควบคุมอาคาร การก่อสร้าง เป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดและจะต้องศึกษาให้ดีก่อนเพื่อป้องกันความผิดพลาด หลาย ๆ คน จึงมักนิยมใช้บริการของบริษัทรับสร้างบ้านให้เข้ามาเป็นตัวกลางในการจัดการส่วนนี้

การต่อเติมรั้วบ้านก็เช่นกันนอกจากเรื่องการขออนุญาตแล้ว ยังมีรายละเอียดทางวิศวกรรมเพื่อการใช้งานที่ต้องทนต่อความสั่นสะเทือน ความแข็งแรง และความปลอดภัย เหล่านี้เราสามารถหาข้อมูลและดูผลงานจากบริษัทรับสร้างบ้านต่าง ๆ ที่เข้าร่วมงานมหกรรมรับสร้างบ้าน ที่กำลังจะเกิดขึ้นในกันยายนนี้ แล้วพบกันค่ะ

 

 

 

สนับสนุนบทความโดย

บริษัท โฟร์พัฒนา จำกัด

ที่อยู่ : เลขที่ 2 ซ.ลาดปลาเค้า 10 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

โทรศัพท์ : 02-940-3789

อีเมล : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

เว็บไซต์ : www.fourpattana.com 

สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

Home Builder Association

เลขที่ 2 ซอยลาดปลาเค้า 10 แขวงลาดพร้าว

เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

 : info@hba-th.org

 : 0-2570-0153,0-2940-2744

  : 0-2570-0154