บริษัท รับสร้างบ้าน

บริษัทรับสร้างบ้าน รับสร้างบ้าน สร้างบ้าน สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

กฎหมายต่อเติมบ้านที่คุณต้องรู้ ป้องกันความเสียหายและผิดกฎหมายในอนาคต

18
ต.ค.
2565

 

 

สำหรับเจ้าของบ้านที่มีความคิดจะต่อเติม เสริมแต่งบ้าน เช่น ครัวไทยยื่นออกมานอกบ้าน โรงจอดรถ ห้องสำหรับผู้สูงวัย หรือห้องเก็บของ ถึงแม้จะทำในพื้นที่บ้านตัวเอง แต่รู้หรือไม่ว่าการต่อเติมใดๆ ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายการต่อเติม เพื่อป้องกันความเสียหายและการผิดกฎหมายในอนาคต

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการต่อเติมบ้านโดยตรง คือ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 และ 39 ทวิ ซึ่งสรุปเอาไว้ให้เข้าใจง่าย คือ การจะดัดแปลง ต่อเติมอาคาร ต้องแจ้งและต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานท้องถิ่นก่อนเสมอ ตามมาตรา 21 พร้อมต้องยื่นแบบแปลน รวมถึงชื่อสถาปนิกและวิศวกรที่ควบคุมงาน ให้เจ้าพนักงานทราบ

 

รายละเอียดการต่อเติมบ้านตามกฎหมายที่คุณต้องรู้


1. ห้ามต่อเติมอาคารเต็มพื้นที่ดิน ต้องมีพื้นที่ว่างเหลือไม่น้อยกว่า 30
%

กฎหมายไม่อนุญาตให้ต่อเติมที่พักอาศัยจนเต็มทั้งพื้นที่ของที่ดิน โดยต้องที่เว้นว่าง ระหว่างตัวบ้านกับเขตที่ดินของตัวเองอย่างน้อย 30% ของพื้นที่ เพื่อป้องกันเหตุไม่คาดคิด เช่น เหตุเพลิงไหม้ เพราะเมื่อเกิดเหตุดังกล่าว ถ้าบ้านติดกันไม่มีช่องว่างจะเกิดการล่ามไฟได้ง่าย พนักงานดับเพลิงไม่สามารถเข้าไปดับเพลิงได้ ถ้าไม่มีพื้นที่ว่างระหว่างอาคาร การระบายอากาศก็ไม่ดีทำให้บ้านอับชื้น

  • ต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 30 ใน 100 ส่วนของที่ดิน
  • ที่ว่างโดยรอบอาคาร ถ้าอาคารสูงน้อยกว่า 15 เมตร ต้องมีที่ว่างโดยรอบ 1.00 เมตร ถ้าอาคารสูงตั้งแต่ 15 เมตร ต้องมีที่ว่าง โดยรอบ 2.00 เมตร

 

2. แนวอาคารและระยะร่นต่างๆ

  • รั้วหรือกำแพงที่สร้างขึ้นติดต่อหรือห่างจากถนนสาธารณะน้อยกว่าความสูงของรั้วให้ก่อสร้างได้สูงไม่เกิน 3 เมตร เหนือระดับทางเท้าหรือถนนสาธารณะ
  • อาคารที่มีความสูงเกิน 9 เมตร แต่ไม่เกิน 23 เมตร ผนังของอาคาร,ช่องเปิด (หน้าต่าง,ประตู,ช่องลม,ช่องแสง) หรือระเบียงของอาคารต้องอยู่ห่างจากแนวเขตที่ดิน 3 เมตร
  • อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร ควรเว้นระยะห่างของผนัง,ช่องเปิด (หน้าต่าง,ช่องลม,ช่องแสง) ห่างจากแนวของเขตที่ดินข้างเคียงไม่น้อยกว่า 2 เมตร แต่ถ้าเป็นผนังทึบต้องเว้นระยะห่างไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร

 

3. ต้องได้รับความยินยอมจากเพื่อนบ้านข้างเคียง

เพื่อนบ้านข้างเคียงคือ สังคมที่เราต้องอยู่ร่วมกันในระยะยาว ดังนั้นการต่อเติมที่อยู่อาศัยจึงควรบอกกล่าวเพื่อนบ้านให้รับรู้ และขอความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากเพื่อนบ้าน เพื่อป้องกันความขัดแย้งในการก่อสร้าง โดยเฉพาะหากเจ้าของบ้านต้องการต่อเติมบ้านชิดเขตที่ดินของเพื่อนบ้าน หากไม่ได้รับการยินยอมจากเจ้าของที่ดินข้างเคียง ก็ไม่สามารถต่อเติมชิดเขตพื้นที่ได้ ต้องเว้นระยะห่างจากเขตที่ดินอย่างน้อย 0.50 เมตร และต้องเป็นผนังทึบไร้ช่องเปิดเท่านั้น ไม่เช่นนั้นจะมีความผิดตามกฎหมาย


 

4. ต้องขออนุญาตจากเจ้าพนักงานในพื้นที่

การต่อเติมบ้านทั้งบ้านชั้นเดียว และบ้านหลายชั้น จะต้องมีใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อน หากมีการต่อเติมในขอบเขตดังต่อไปนี้

  • การต่อเติมบ้านที่มีพื้นที่ครอบคลุมเกิน 5 เมตรหรือตารางเมตร
  • การลด-เพิ่ม จำนวนเสา หรือคาน
  • การต่อเติมที่มีความเปลี่ยนแปลงของวัสดุ ขนาด ที่แตกต่างไปจากของเดิม
  • การต่อเติมที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักบ้านที่เพิ่มมากขึ้นจากการคำนวณฐานรับน้ำหนัก

 

5. ต้องมีสถาปนิกและวิศวกรควบคุมการดำเนินการต่อเติม

เมื่อทำเรื่องขออนุญาตกับเจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว สิ่งที่จะต้องมีเมื่อเราต้องการต่อเติมที่อยู่อาศัยนั้นก็คือ แบบแปลนที่ได้รับการรับรองจากสถาปนิกและวิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้างอาคาร กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงวัสดุ ก็จำเป็นต้องให้วิศวกรคำนวณ เพื่อสรุปว่าการต่อเติมนั้นจะสามารถอนุญาตให้ต่อเติมได้หรือไม่ โดยจำเป็นต้องคำนึงถึงหลักความปลอดภัย

เมื่อทราบกฎหมายควบคุมการต่อเติมบ้านแล้ว เจ้าของบ้านที่มีแผนจะต่อเติมบ้านเพื่อให้สอดคล้องกับการอยู่อาศัยจึงควรวางแผนก่อนต่อเติมเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่ตามมา ซึ่งหากเจ้าของบ้านไม่ปฏิบัติตามแล้วมีผู้ร้องเรียน เจ้าของบ้านจะต้องโทษจำคุก ไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งหากเจ้าของบ้านเลือกใช้ บริษัทรับสร้างบ้าน  ที่ได้มาตรฐาน จะช่วยป้องกันปัญหาการต่อเติมที่ผิดกฎหมายได้ เนื่องจากมีสถาปนิกและวิศวกรควบคุมงาน อีกทั้งยังช่วยประสานงานติดต่อขออนุญาตในขั้นตอนต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเจ้าของบ้าน และทำให้การก่อสร้างต่อเติมเป็นไปอย่างราบรื่น หมดปัญหาหมดห่วงอย่างแน่นอน

 

สนับสนุนบทความโดย

บริษัท โฟร์พัฒนา จำกัด

ที่อยู่ : 2 ซอยลาดปลาเค้า 10 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

โทรศัพท์ : 0 2940 3789

อีเมล : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. 

เว็บไซต์ : www.fourpattana.com 

 

สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

Home Builder Association

เลขที่ 2 ซอยลาดปลาเค้า 10 แขวงลาดพร้าว

เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

 : info@hba-th.org

 : 0-2570-0153,0-2940-2744

  : 0-2570-0154