บริษัท รับสร้างบ้าน

บริษัทรับสร้างบ้าน รับสร้างบ้าน สร้างบ้าน สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

วางแผนสร้างบ้านรับวัยเกษียณอย่างไร เพื่ออยู่อาศัยได้อย่างสะดวกสบาย?

11
ต.ค.
2565

 

 

ต้องยอมรับว่าสังคมสมัยนี้เป็น สังคมสูงวัย คือ สังคมที่มีสัดส่วนของผู้สูงอายุหรือประชากรที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ได้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่สัดส่วนของอัตราการเกิด และจำนวนประชากรในวัยทำงานลดน้อยลง ดังนั้นธุรกิจเพื่อวัยเกษียณจึงเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงธุรกิจรับสร้างบ้านสำหรับวัยเกษียณก็ได้รับความสนใจมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้นบ้านสำหรับวัยเกษียณต้องเป็นอย่างไร เรามาติดตามไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้วางแผนสร้างบ้านรับวัยเกษียณได้อย่างสมบูรณ์แบบ

 

วางแผนสร้างบ้านรับวัยเกษียณอย่างไร เพื่ออยู่อาศัยได้อย่างสะดวกสบาย?


1. ทำเลที่ตั้งของบ้านวัยเกษียณ

ทำเลที่ดีไม่ควรไกลเมืองมากจนเกินไป เพราะการห่างไกลเมือง ก็ห่างไกลความสะดวกสบายไปด้วย เมื่อจำเป็นต้องจับจ่ายใช้สอยหรือมีธุระจำเป็น โดยเฉพาะวัยเกษียณไม่ควรห่างโรงพยาบาล เพราะเป็นวัยที่ต้องเข้าโรงพยาบาลหรือหมอนัดตรวจอาการบ่อยๆ การหาที่อยู่ห่างเมืองไม่เกิน 30 กิโลเมตร จึงเป็นตัวเลือกที่ลงตัวกว่า แต่หากต้องการเลือกสร้างบ้านอยู่อาศัยในชนบทไกลเมือง ควรเป็นกรณีที่มีที่ดินเดิมอยู่แล้ว หรืออยู่ท่ามกลางญาติที่จะคอยดูแลได้


2. มีทางลาดเตรียมไว้ดีกว่า

ทางลาดมีเอาไว้รองรับวีลแชร์ ซึ่งอาจจะไม่ได้จำเป็นสำหรับทุกบ้าน แต่หากจะวางแผนสร้างบ้านใหม่ก็ควรมีการออกแบบบ้านที่มีทางลาด เพราะอนาคตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน เผื่อว่าวันใดวันหนึ่งจำเป็นต้องใช้ขึ้นมา  ก็ดีกว่าการมาเพิ่มเติมในภายหลัง ที่มักจะทำได้ยุ่งยากกว่า

ทางลาดนอกจากจะมีประโยชน์สำหรับวีลแชร์แล้ว ยังใช้สำหรับขนของเข้าบ้านหรือลากกระเป๋าเดินทางได้อย่างสะดวก รวมถึงการเดินขึ้น-ลงบนทางลาด ก็เหมาะกับผู้สูงอายุที่มักมีปัญหาเรื่องข้อเข่ามากกว่าบันไดอีกด้วย


3. ออกแบบประตูให้กว้างและใช้ประตูบานเลื่อนแทนบานผลัก

การสร้างบ้านวัยเกษียณควรให้ความสำคัญกับประตู โดยเปลี่ยนจากบานผลักเป็นบานเลื่อน เพราะใช้แรงในการเปิดน้อยกว่า อีกทั้งรองรับการใช้วีลแชร์ในอนาคตได้อย่างสะดวกและปลอดภัยอีกด้วย

ดังนั้นห้องนอน ห้องน้ำหรือห้องใดๆ ที่ผู้สูงอายุใช้บ่อย จึงเหมาะกับการใช้ประตูบานเลื่อน และขนาดของประตูควรกว้างไม่น้อยกว่า 115 เซนติเมตร และควรเลือกแบบติดตั้งรางเลื่อนชนิดแขวนด้านบน จะช่วยป้องกันการสะดุดล้ม และรถวีลแชร์สามารถผ่านได้อย่างสะดวก



4. พื้นลดแรงกระแทก และพื้นกันลื่น

เมื่อแก่ตัวลง การเดินเหินของวัยเกษียณอาจทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร การหกล้มในผู้สูงอายุเป็นเรื่องที่อันตรายมาก เพราะเสี่ยงกับกระดูกแตก กระดูกร้าว ดังนั้นการวางแผนสร้างบ้านสำหรับวัยเกษียณต้องคำนึงถึงพื้นเป็นพิเศษ

โดยพื้นห้องที่ใช้บ่อย เช่น ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ควรหลีกเลี่ยงกระเบื้องหรือแกรนิตโตที่มีความมันลื่น แล้วใช้วัสดุปูพื้นผิวสัมผัสนุ่มนวล หรือพื้นลามิเนตแบบกันกระแทกแทน ส่วนห้องน้ำก็เปลี่ยนไปใช้พื้นกันลื่น รวมไปถึงการเพิ่มราวจับสำหรับช่วยพยุงตัว ก็จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในบ้านให้ผู้สูงอายุได้ดี


5. ออกแบบห้องน้ำรองรับการใช้งานของวัยเกษียณ

ห้องน้ำเป็นห้องที่เสี่ยงกับการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย แต่ก็เป็นห้องที่ต้องใช้บ่อยๆ อย่างเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นควรออกแบบให้ใช้งานได้สะดวกและมีความปลอดภัยสูง เริ่มตั้งแต่ขนาดพื้นที่ซึ่งควรมีความกว้างมากพอที่จะรองรับการหมุนตัวของรถเข็น หรือรองรับกรณีมีพยาบาลผู้ช่วยพาผู้สูงอายุเข้าห้องน้ำ

โดยควรมีพื้นที่ว่างประมาณ 1.5 เมตร พร้อมติดตั้งอุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น ราวจับ ราวยึด เก้าอี้อาบน้ำ ทางเข้าควรเลือกใช้ประตูบานเลื่อน เลี่ยงการทำธรณีประตูหรือการทำพื้นต่างระดับทั้งภายนอกและภายในห้อง


6. ห้องนอนโปร่งกว้าง มีหน้าต่าง 2 ด้านขึ้นไป

ในวัยทำงาน ห้องนอนอาจจะใช้น้อย แต่สำหรับวัยเกษียณ ห้องนอนอาจเป็นห้องหลักที่ต้องอยู่อาศัยตลอด 24 ชั่วโมง การออกแบบห้องนอนที่มีความโปร่งสบาย มีขนาดความกว้างอย่างพอเหมาะ จึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการอยู่อาศัยในระยะยาว

โดยห้องนอนสำหรับวัยเกษียณควรมีอากาศถ่ายเทสะดวก ด้วยหน้าต่าง 2 ด้านขึ้นไป เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนระบายอากาศ ภายนอกห้องควรมีทัศนียภาพที่รื่นรมย์ เช่น มองเห็นต้นไม้เขียวสวย หรือน้ำตกและบ่อปลา นอกจากนี้บริเวณข้างเตียงทั้ง 2 ด้าน ควรออกแบบให้มีพื้นที่ว่างประมาณ 1 เมตร เผื่อกรณีจำเป็นต้องมีผู้ช่วยดูแลจะสามารถช่วยเหลือได้ง่าย


7. กล้องวงจรปิด สัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน เป็นสิ่งจำเป็น

กล้องวงจรปิดจำเป็นมากสำหรับบ้านวัยเกษียณ เพราะนอกเหนือจากการรักษาความปลอดภัย ใช้สอดส่องคนแปลกหน้าแล้ว ยังเอาไว้คอยสอดส่องดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุ ในเวลาที่อยู่คนเดียวอีกด้วย

นอกจากนี้คุณยังสามารถติดตั้งเครื่องตรวจจับการล้ม พร้อมสัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน ซึ่งจะสามารถแจ้งให้คุณทราบว่ามีเหตุเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในบ้าน ซึ่งจะสามารถแจ้งได้ทั้งกรณีที่ผู้สูงอายุหกล้มแล้วยังมีสติซึ่งสามารถกดปุ่มแจ้งเหตุได้เอง แต่หากผู้สูงอายุหกล้มแล้วหมดสติกดปุ่มเองไม่ได้ หรือไม่สามารถลุกขึ้นได้ เครื่องก็จะเริ่มตรวจจับและแจ้งเหตุโดยทันที

โดยหากไม่สะดวกจะติดทั้งหลัง อาจเลือกติดในพื้นที่สำคัญ เช่น ห้องนอน ห้องนั่งเล่น หรือพื้นที่ที่อาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เพื่อให้ลูกหลานสามารถช่วยเหลือได้ทันท่วงทีเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน

บ้านสำหรับวัยเกษียณมีแนวคิดการออกแบบแตกต่างจากบ้านแบบปกติ ดังนั้นหากมีแผนจะสร้างบ้านสำหรับรองรับวัยเกษียณจึงควรพูดคุยกับบริษัทรับสร้างบ้าน ตั้งแต่ต้น เพื่อให้ออกแบบส่วนต่างๆ ของบ้าน รองรับการปรับเปลี่ยนมาเป็นบ้านสำหรับคนสูงวัย ให้อาศัยอยู่อย่างสะดวกสบาย และปลอดภัย ให้วัยเกษียณได้เป็นวัยที่ได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขร่วมกับสมาชิกภายในครอบครัว

 

สนับสนุนบทความโดย

 

กลุ่มบิวท์ ทู บิวด์

8 ซ.อ่อนนุช 46 ถ.อ่อนนุช แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

โทรศัพท์ : 0 2721 3999

เว็บไซต์ : https://www.btb.co.th 

 

สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

Home Builder Association

เลขที่ 2 ซอยลาดปลาเค้า 10 แขวงลาดพร้าว

เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

 : info@hba-th.org

 : 0-2570-0153,0-2940-2744

  : 0-2570-0154