บริษัท รับสร้างบ้าน

บริษัทรับสร้างบ้าน รับสร้างบ้าน สร้างบ้าน สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

ทริคเลือกวัสดุสร้างชั้นลอยให้สวยงามและแข็งแรงทนทาน

25
ต.ค.
2565

 


ชั้นลอยเป็นอีกหนึ่งฟังก์ชันที่ทำให้บ้านของเรามีพื้นที่การใช้งานเพิ่มขึ้น ถือเป็นการสร้างลูกเล่นให้กับบ้านได้อีกด้วย โดยมักจะออกแบบให้เป็นห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องทำงาน ชั้นวางหนังสือ หรือมุมสังสรรค์ต่างๆ หรือหากมีพื้นที่จำกัด ก็อาจจะจัดเป็นมุมหิ้งพระ และการใช้งานที่ต่างกัน รวมไปถึงสไตล์ของแบบบ้านที่ต่างกัน การเลือกวัสดุจึงต่างกันไปด้วย เพื่อให้เกิดความสวยงาม แข็งแรง ทนทาน เหมาะกับการใช้งานพื้นที่ ซึ่งจะมีเทคนิคการเลือกวัสดุเพื่อสร้างชั้นลอยนี้อย่างไรบ้าง สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้านนำข้อมูลดีๆ มาฝากกัน

 

เรื่องควรรู้ก่อนออกแบบบ้านที่มีชั้นลอย

ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ห้องในอาคารซึ่งมีระยะดิ่งระหว่างพื้นถึงพื้นอีกชั้นหนึ่งตั้งแต่ 5 เมตรขึ้นไป จะทำพื้นชั้นลอยในห้องนั้นก็ได้ โดยพื้นชั้นลอยดังกล่าวนั้นต้องมีเนื้อที่ไม่เกินร้อยละ 40 ของเนื้อที่ห้อง ระยะดิ่งระหว่างพื้นชั้นลอยถึงพื้นอีกชั้นหนึ่งต้องไม่น้อยกว่า 2.40 เมตร และระยะดิ่งระหว่างพื้นห้องถึงพื้นชั้นลอยต้องไม่น้อยกว่า 2.40 เมตร ด้วย

 

ทริคเลือกวัสดุสร้างชั้นลอยให้สวยงามและแข็งแรงทนทาน

เมื่อวางแผนออกแบบบ้านในฝันให้มีชั้นลอย เรื่องแรกที่ต้องคำนึงก็คือเรื่องการรับน้ำหนัก ความแข็งแรงและทนต่อการใช้งาน โดยคุณสมบัติมาตรฐานของชั้นลอยจะต้องรับน้ำหนักได้ไม่ต่ำกว่า 200 กิโลกรัม ซึ่งเป็นน้ำหนักที่รวมทุกอย่างไว้ เช่น ผู้ใช้งาน เฟอร์นิเจอร์ วัสดุปูพื้น เพดาน และหากเป็นพื้นที่อเนกประสงค์รองรับแขกจำนวนมากก็ยิ่งต้องเพิ่มความสำคัญมากกว่าเดิม ซึ่งค่ารองรับน้ำหนักจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีผู้เชี่ยวชาญ วิศวกร หรือบริษัทรับสร้างบ้านที่มีผู้เชี่ยวชาญการสร้างบ้านและออกแบบควบคุมดูแลอย่างปลอดภัย

ดังนั้น เพื่อรองรับการใช้งานที่จะเกิดขึ้น โครงสร้างจึงควรเลือกวัสดุที่เบา โดยโครงสร้างที่เหมาะสมคือ โครงสร้างคานและตงเหล็ก ปูทับด้วยวัสดุประเภทไม้อัดหรือไม้เทียม ทั้งนี้การเลือกวัสดุต่างๆ ยังขึ้นอยู่กับประเภทของชั้นลอยอีกด้วย โดยการสร้างชั้นลอยมี 3 ประเภท ดังนี้

1. ชั้นลอยโครงเหล็ก

เป็นโครงสร้างที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะได้ชื่อว่าเป็นวัสดุที่แข็งแรง ทนทาน รับน้ำหนักได้มาก เหมาะสำหรับบ้านที่ต้องการพื้นที่ชั้นลอยเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ขนาดใหญ่ รองรับการใช้งานของเจ้าบ้านและแขกผู้มาเยือน

การออกแบบชั้นลอยส่วนใหญ่จะแยกโครงสร้างของชั้นลอยกับตัวบ้าน เพื่อป้องกันการดึงรั้งน้ำหนักจากโครงสร้างหลัก มีเสาเฉพาะเป็นของตัวเอง ซึ่งโครงสร้างเหล็กมีน้ำหนักมากกว่าโครงสร้างประเภทอื่นจึงควรกำหนดสเปกชนิดของเหล็กและการใช้งานให้ชัดเจน เพื่อให้ทางบริษัทรับสร้างบ้านคำนวณค่ารองรับน้ำหนักที่จะเกิดขึ้น รวมถึงต้องศึกษาการดูแล ทั้งความชื้น สนิม ป้องกันการผุพัง โดยชั้นลอยประเภทนี้เหมาะกับบ้านสไตล์ลอฟท์ ที่ชอบโชว์ความดิบของวัสดุต่างๆ


2. ชั้นลอยโครงไม้

ชั้นลอยโครงไม้มักพบเห็นได้บ่อยๆ จากแบบบ้านสไตล์มินิมอล ลักษณะเล็กๆ ให้บรรยากาศอบอุ่น เป็นการเพิ่มชั้นลอยเพื่อการใช้งานที่ไม่หนัก เช่น ชั้นวางหนังสือ หรือ ห้องทำงาน

แม้งานโครงไม้จะขึ้นชื่อเรื่องความแข็งแรง ทน สวยงาม แต่หากมองการใช้งานเป็นหลัก โครงไม้อาจจะยังไม่เหมาะกับแบบบ้านขนาดใหญ่ที่เน้นการใช้งานหนักๆ ทริคการสร้างชั้นลอยไม้จึงอยู่ที่การเลือกใช้วัสดุ วัสดุไม้เทียมทดแทนจึงเป็นการเฉลี่ยน้ำหนักจากโครงสร้าง ยิ่งหากเป็นการต่อเติมภายหลัง จะเป็นการเพิ่มน้ำหนักไปที่ผนังโครงสร้างหลักอาจส่งผลต่อความปลอดภัย ดังนั้นการออกแบบโดยสถาปนิกและผ่านการขออนุญาตก่อสร้างตั้งแต่เริ่มสร้างบ้านย่อมดีกว่าการต่อเติมภายหลัง



3. ชั้นลอยโครงสร้างปูน

โดยมากจะเป็นในลักษณะของอาคารใหญ่ ต้องแข็งแรงมาก สถาปนิกจะลงรายละเอียดวัสดุตั้งแต่ขออนุญาตเนื่องจากเป็นเรื่องโครงสร้างที่ต้องเชื่อมต่อกันกับโครงหลัก และเพื่อรองรับการใช้งานที่อาจจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่

ข้อดีของชั้นลอยปูนคือไม่พบปัญหารั่วซึม แต่ก็อาจจะมีปัญหาตามมาหากไม่ผ่านการควบคุมการก่อสร้างและเลือกวัสดุ ขนาดเหล็กเสริม หรือความหนาของพื้นปูน การหาค่ารองรับน้ำหนัก ที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น คานย้อยแอ่น

นอกจากการเลือกโครงสร้างแล้ว ยังมีอีกหนึ่งทริคที่ทำให้ชั้นลอยสามารถโชว์ความสวยงาม พร้อมให้ความรู้สึกปลอดภัยได้อย่างดีก็คือ ส่วนของผนัง หากเลือกก่อผนังทึบควรเลือกผนังที่ให้ความเบาแต่ยังให้ความแข็งแรง หรือ เลือกเป็นกระจกใสเพื่อปล่อยโล่งโชว์พื้นที่ ปล่อยให้อากาศถ่ายเทสะดวก ก็เสริมให้บ้านดูโปร่งและมีเอกลักษณ์ได้

ทั้งนี้การเลือกใช้วัสดุใดๆ ก็ตาม จะปรับเปลี่ยนตามสไตล์ของบ้านและการใช้งานพื้นที่ความสูงที่ต้องเป็นไปตามกฎหมายควบคุมอาคารกำหนด และถือเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยโดยตรงจึงควรมีผู้เชี่ยวชาญหรือบริษัทรับสร้างบ้านที่มีมาตรฐาน เพราะพื้นที่ชั้นลอยก็ถือเป็นอีกส่วนของบ้านที่หากมีการรื้อหรือทุบก็จะมีผลกับโครงสร้างบ้านโดยรวมได้

 

สนับสนุนบทความโดย

บริษัท เพอร์เฟค เฮาส์ แอนด์ ดีซายน์ จำกัด

ที่อยู่ : 99/80 ซอยแจ้งวัฒนะ 12 แยก 4-7-2 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

โทรศัพท์ : 0 2573 1908-9

เว็บไซต์ : www.perfectdee.com 

 

สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

Home Builder Association

เลขที่ 2 ซอยลาดปลาเค้า 10 แขวงลาดพร้าว

เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

 : info@hba-th.org

 : 0-2570-0153,0-2940-2744

  : 0-2570-0154