บริษัท รับสร้างบ้าน

บริษัทรับสร้างบ้าน รับสร้างบ้าน สร้างบ้าน สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

ปลูกบ้านสำหรับผู้สูงอายุ

14
มิ.ย.
2559

 

ปลูกบ้านสำหรับผู้สูงอายุ

ปัจจุบันสังคมไทยมีแนวโน้มที่ผู้สูงอายุมีอัตราการเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และหนึ่งในสมาชิกในบ้านหนึ่งหลังหรือหนึ่งครอบครัวก็มีผู้สูงอายุที่ต้องการความเอาใจใส่หรือดูแลมากกว่าคนในวัยอื่นๆทั้งภาพร่างกายและจิตใจ ในขณะเดียวกัน การปลูกสร้างหรือการออกแบบบ้านพักอาศัยก็มีความจำเป็นที่ต้องคำนึงถึง เพื่อช่วยอำนวยความสะดวก และตอบสนองความต้องการในด้านต่างๆให้ผู้สูงวัยสามารถอยู่ภายในบ้านได้อย่างปลอดภัย มีความสุข และสามารถพึ่งพาตัวเองได้ ดังนี้ 

บันได-ราวจับ : บันไดผู้สุงอายุควรมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร มีชานพักทุกระยะ จมูกบันไดควรมีสีที่แตกต่างจากพื้นผิว ควรมีราวบันไดทั้งสองด้าน ในกรณีที่บ้านอยู่อาศัยมีความสูงมากว่า 2 ชั้น หรือเป็นบ้านที่ไม่สามารถต่อเติมบ้านชั้นหนึ่งชั้นใดสำหรับผู้สูงอายุได้ จึงหันมาเลือกใช้ลิฟท์สำหรับผู้สูงอายุแทนและการหาทางออกด้วยวิธีนี้ก็มีมากขึ้น  และลิฟท์ที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุควรมีลักษณะ มีราวจับ มีไฟเตือนภัย และมีโทรศัพท์ฉุกเฉิน และมีเสียงบอกเลขและเสียงเตือนให้ทราบว่าประตูกำลังเปิด-ปิด

ทั้งนี้ราวจับควรเน้นวัสดุที่แข็งแรงและทำความสะอาดง่าย และควรมีลักษณะเป็นทรงกลม

ทางเดินภายในบ้านหรือทางลาด : การออกแบบทางเดินภายในบ้านถือเป็นหัวใจที่ไม่ควรมองข้าม ทางเดินในบ้านสำหรับสูงอายุทั่วไปควรมีความกว้างมากพออย่างน้อยก็ต้องมีความกว้าง 90-100 ซม. แต่ในกรณีที่มีผู้สูงอายุที่ต้องใช้รถวีลแชร์จำเป็นต้องมีความกว้างของทางเดิน 1.50 เมตร เผื่อสำหรับการหมุนตัวของรถเข็น ส่วนพื้นทางเดินควรเป็นระดับเดียวกัน ไม่ควรทำพื้นต่างระดับ เพราะอาจทำให้เกิดอุบัตเหตุได้ วัสดุปูพื้นควรมีผิวสัมผัสที่หยาบ

เพื่อให้เกิดความคล่องตัวทางลาดควรมีความกว้างที่มากพอ และหากทางลาดที่ไม่ทีผนังกั้นให้ยกขอบสูงจากพื้นผิวทางลาดและต้องมีราวกันตกด้วย 

ห้องนอน-เฟอร์นิเจอร์ : ห้องนอนของผู้สูงอายุควรอยู่ชั้นล่าง เพื่อสะดวกต่อากรเดินทางและเคลื่อนย้าย ตำแหน่งเตียงนอนควรวางให้เดินอย่างน้อย 3 ด้าน ส่วนเฟอร์นิเจอร์อื่นๆควรมีความสุงที่เหมาะแก่การใช้งาน และควรจัดวางในตำแหน่งที่โล่งๆอากาศถ่ายเทได้ดี  ควรมีช่องรับแสงทางทิศเหนือหรือทิศตะวันออกเพื่อรับแสงยามเช้า ช่วยให้ผู้สูงอายุรับรู้การเปลี่ยนแปลงของช่วงเวลา บรรยากาศในห้องควรเป็นโทนสีอ่อน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสหรือให้ความรู้สึกผ่อนคลาย และลดอาการนอนไม่หลับ เตียงนอนควรออกแบบให้พอดีวัดจากการนั่งเตียงแล้วสามารถวางขากับพื้นได้แบบตั้งฉากพอดี  เพิ่มความปลอดภัยด้วยราวจับกันตก

น้องน้ำ : เนื่องจากห้องน้ำเป็นห้องที่เกิดอุบัติเหตได้ง่ายมาก พื้นห้องน้ำควรเป็นระดับเดียวกัน ไม่ควรออกแบบให้มีธรณีประตูหรือพื้นต่างระดับ ควรออกแบบแยกระหว่างส่วนเปียกส่วนแห้ง ติดตั้งแสงสว่างให้เพียงพอต่อการมองเห็น ควรใช้โถนั่งหรือชัดโครก ควรมีราวจับเพื่อช่วยในการทรงตัว และควรมีปุ่มกดแจ้งสัญญาณฉุกเฉิน กรณีเกิดอุบัติเหตและมีที่นั่งสำหรับอาบน้ำหรือสระผม มีราวจับช่วยพยุงตัว ก๊อกน้ำควรเป็นแบบคันโยก ก้านกดหมุนระบบอัตโมมัติ ซึ่งจะช่วยกรณีผ้สูงอายุที่ปัญหาเรื่องข้อ และไม่สามารถออกแรงได้ วัสดุปูพื้นต้องไม่ลื่น และทำความสะอาดง่าย และควรเลือกวัสดุปูฟื้นหรือกระเบื้องที่มีพื้นผิวที่หยาบหรือมีสารยับยั้งการเกิดแบคทีเรียสำหรับผูห้องน้ำผู้สูงอายุโดยเฉพาะ

ประตู : เพื่อให้ง่ายต่อการเปิด-ปิดประตูควรเป็นแบบบานเลือน วัสดุที่ใช้ทำประตูควรมีน้ำหนักเบา บานพับมีความแข็งแรงทนทาน หน้าบานควรใช้แบบมือจับดึงหรือดัน เป็นไปได้ไม่ควรใจประตูที่เป็นลูกบิด เพราะอาจล็อคหรือขังผู้สูงอายุไว้ข้างใน หากเกิดฉุกเฉินอาจเข้าไปช่วยเหลือยาก และที่สำคัญประตูควรมีความกว้างพอสำหรับการเข้า-ออกพร้อมกันในกรณีที่มีคนพยุง หากเลือกใช้ประตูที่เป็นกระจก ควรมีเครื่องหมายหรือแถบสีให้สังเกตเห็นได้ชัดเจน เพื่อป้องกันการเดินชน

ครับ นั่นคงพอจะเป็นอีกแนวทางสำหรับผู้สร้างบ้านใหม่หรือปรับปรุงบ้านเก่าทั้งที่มีผู้สูงอายุในบ้าน หรือออกแบบปลูกสร้างไว้เมื่อตนเองสูงอายุมากขึ้น ผมคิดว่าคุณต้องตรวจเช็คสิ่งเหล่านี้ เพื่อความสมบูรณ์ ในการปลูกสร้างบ้านบ้าน ที่เป็นแบบเพื่อผู้สูงอายุ หากท่านใดต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามได้ที่สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน หรือโทร 02-570-0153

 

ทีมา : นสพ.คมชัดลึก ฉบับวันอังคารที่  14 มิถุนายน 2559-บ้านผู้สูงอายุ

 

####################

 

 

สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

Home Builder Association

เลขที่ 2 ซอยลาดปลาเค้า 10 แขวงลาดพร้าว

เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

 : info@hba-th.org

 : 0-2570-0153,0-2940-2744

  : 0-2570-0154