อาคารบ้านพักอาศัยเป็นหนึ่งในปัจจัยพื้นฐานสำคัญของมนุษย์ ในอดีตถ้าจะพูดถึงบ้านประหยัดพลังงาน ก็คงเป็น”เรือนไทย”ที่ได้ก่อสร้างและวางตัวบ้าน(ใต้ถุนยกสูง)ให้สอดคล้องภูมิประเทศไทย ภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเป็น หลบแดด รับลม ได้แสงธรรมชาติทีเพียงพอ ลักษณะบ้านโปร่ง โล่ง วางเรือนแยกเป็นหลังๆมีชานระเบียงเป็นตัวเชื่อมแต่จะด้วยความเจริญเติบโตของเมือง การแข่งขันในเชิงธุรกิจที่รุนแรง อาจทำให้การออกแบบหรือการปลูกสร้างบ้านในปัจจุบันลืมนึกไปว่าประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิอากาศร้อนชื้น ดังนั้น การออกแบบที่ไม่เหมาะสม การใช้วัสดุที่ไม่เหมาะสมรวมถึงพฤติกรรมการอยู่อาศัยที่ไม่สอดคล้องกับเมืองร้อน ทำให้ต้องพึ่งเครื่องปรับอากาศภายในบ้าน ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองพลังงาน และทำให้ภาระค่าใช้จ่ายสูงขึ้น
ในฐานะที่อยู่ในแวดวงการก่อสร้างบ้านมานับสิบปีถึงถึงวันนี้ผมขอแชร์ประสบการณ์เผื่อท่านเจ้าของบ้านจะได้นำไปประยุกต์ใช้ในการก่อสร้างบ้านและปรับปรุงบ้านถึง บ้านประหยัดพลังงานที่เจ้าของบ้านโดยทั่วไปสามารถที่จะปลูกสร้างเพื่ออยู่อาศัยได้นั้นมีอยู่ 2 แนวทาง คือแนวทางแรก บ้านที่ใช้พลังงานน้อยที่สุด และ แนวทางที่สองแนวทางที่พัฒนาขึ้นด้วยเทคโนโลยี และใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
แนวทางแรก “ใช้พลังงานน้องที่สุด” ในกรณีที่มีพื้นที่ที่จะปลูกบ้านค่อนข้างใหญ่ สามารถที่จะออกแบบและปลูกสร้างบ้านในสไตล์เรือนไทยโบราณได้ ด้วยการออกแบบ้านให้โปร่ง โล่ง วัสดุที่ใช้ควรเป็นวัสดุธรรมชาติมีความหนาไม่มาก จึงไม่อมความร้อน ส่วนหลังคา ก็ควรมีชายคาที่ยื่นยาวออกมาเพื่อป้องกันฝนและแดดไม่ให้ตกมากระทบกับผนังหรือสาดส่องผ่านหน้าต่างเขามาในตัวบ้าน ซึ่งก็จะช่วยให้ป้องกันความร้อนข้าตัวบ้าน
อีกอย่างที่ทำได้ไม่ยากนั่นคือ การอาศัยธรรมชาติรอบๆตัวบ้าน ด้วยปลูกต้นไม้ให้ร่มเงา มีแหล่งน้ำเพื่อช่วยลดความร้อน ซึ่งถ้ามีการออกแบบตัวบ้านที่ดี มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดี พลังงาน(ไฟฟ้า)ที่ใช้เพื่อการอยู่อาศัยก็จะลดน้อยลง กล่าวคือ จะใช้ไฟฟ้าเท่าที่จำเป็น
แนวทางที่สอง“ใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพ” เมื่อสภาพแวดล้อมในบางพื้นที่บางทำเลเปลี่ยนไป เมืองมีการขยายตัวมากขึ้น พื้นที่โล่งเหลือน้อยหรือพื้นที่ที่จะปลูกสร้างบ้านมีจำกัด มีแต่ตึกขึ้นมาสร้างความแออัดในพื้นที่รับลมไม่มี มีแต่ฝุ่นและควันรถ ทำให้จำเป็นต้องปิดหน้าต่างแล้วหันมาเปิดเครื่องปรับอากาศ(แอร์)แทน เมื่อสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย ดังนั้น บ้านที่ออกแบบต้องไม่ให้มีการรั่วซึมของอากาศ หรือถ้าจะมีการรั่วซึมก็ให้มีน้อยที่สุด เลือกใช้วัสดุที่ช่วยป้องกันความร้อนไม่ให้เข้าสู่ภายในบ้าน เช่น ใช้ฉนวนกันความร้อน หรือ ใช้กระจกที่มีคุณสมบัติกันความร้อน หรือกระจกตัดแสงเพื่อให้ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บ้านในแนวทางนี้ การออกแบบบ้านต้องวางตัวบ้านให้สอดคล้องกับทิศทางของแดดและลมครับ เพราะหากออกแบบบ้านไม่ถูกทิศทางหรือไม่ถูกต้องแล้ว แสงแดดที่ส่องเข้ามาในตัวบ้านก็จะเกิดการกักเก็บความร้อนสะสมในตัวบ้าน ผลที่ตามก็คือร้อน แล้วฉนวนกันความร้อนที่เราติดไม่ให้ความร้อนเข้าก็จะกลายมาเป็นตัวกันไม่ให้ความร้อนระบายออก เมื่อมีการเปิดแอร์ แอร์ก็จะทำงานหนักจะสิ้นเปลืองทั้งพลังงานและค่าไฟฟ้า
สองแนวทางที่ผมนำมาฝากนี้เป็นแนวทางพื้นฐานที่จำเป็นต้องคำนึงถึงครับ และนำไปใช้ได้กับการปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนได้ทุกหลัง ทุกขนาดไม่ว่าจะหลังเล็กหรือหลังใหญ่ การออกแบบ้านประหยัดพลังงาน เพื่อช่วยการรักษ์โลกล้วนเป็นการประยุกต์ใช้สองแนวทางนี้มาผสมผสานกัน
อย่าลืมนะครับว่า ทุกครั้งที่คิดจะออกแบบหรือปลูกสร้างบ้านสักหลังเราควรคำนึงถึงสิ่งต่างๆเหล่านี้ คือ ประโยชน์ใช้สอย ,วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง สภาพแวดล้อม ภูมิอกาศ ภูมิประเทศ สิ่งต่างๆเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการออกแบบที่จะนำมาถึงสภาะที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยทั้งสัมผัสและมองเห็นทั้งสภาพภายในและความสวยงามภายนอก
โลกเรานับวันยิ่งมีอุณภูมิร้อนขึ้นๆ การออกแบบที่ดี ก็ช่วยให้คุณหนีร้อนได้ แล้วพบกันใหม่ครับ
--------------------------