Page 213 - คู่มือมาตรฐานงานก่อสร้างบ้านพักอาศัย
P. 213

เซอร์กิตเบรกเกอร์ Circuit breaker

                   เซอร์กิตเบรกเกอร์ ต้องมีเครื่องหมายแสดงอย่างชัดเจนว่าอยู่ในสถานะสับหรือปลดอยู่ ต้องเป็นแบบปลดโดย

              อิสระและสามารถสับด้วยมือได้ อีกทั้งต้องมีเครื่องหมายแสดงพิกัดของแรงดัน กระแส และความสามารถในการตัด

              กระแส

                   โดยตามข้อก าหนดเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) ของ วสท.2001-56 ระบุไว้ว่า

                     1. เซอร์กิตเบรกเกอร์ต้องเป็นแบบปลดอิสระและต้องปลดสับได้ด้วยมือ

                     2. ต้องมีเครื่องหมายแสดงอย่างชัดเจนว่าอยู่ในต าแหน่งสับหรือปลด
                     3. ถ้าเป็นแบบตั้งได้ต้องเป็นแบบการปรับตั้งค่ากระแสหรือเวลา โดยในขณะใช้งานกระท าได้เฉพาะผู้ที่มีหน้าที่

              เกี่ยวข้อง

                     4. ต้องมีเครื่องหมายแสดงพิกัดของแรงดัน กระแส และความสามารถในการตัดกระแสที่เห็นชัดเจนและถาวร

              หลังจากติดตั้งแล้ว หรือเห็นได้เมื่อเปิดแผ่นกั้นหรือฝาครอบ

                   5. เซอร์กิตเบรกเกอร์ส าหรับระบบแรงต่ าให้เซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ใช้ในสถานที่อยู่อาศัยหรือสถานที่คล้ายคลึงกัน
              พิกัดไม่เกิน 125 แอมแปร์ ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน IEC 60898 กรณีพิกัดกระแสเกิน 125 แอมแปร์ ต้องเป็นไปตาม

              IEC 60947-2 ส าหรับเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ใช้ในสถานที่อื่น ๆให้เป็นไปตาม IEC 60947-2 หรือ IEC 60898


                   เครื่องตัดไฟรั่ว (Residual Burrent Device : RCD) จะตัดอัตโนมัติเมื่อพบว่ากระแสไฟฟ้าเกิดการไหลเข้า

              และออกไม่เท่ากันที่จ านวนหนึ่งซึ่งอาจเกิดจากการรั่วไหลไปยังวัตถุหรือสิ่งมีชีวิต ปกติใช้เครื่องตัดไฟรั่วขนาดไม่เกิน 30

              มิลลิแอมแปร์เพื่อป้องกันอันตรายเมื่อเกิดการรั่วไหล

                   โดยสามารถพบได้หลัก ๆ 3 ประเภทคือ Residual Current Circuit Breaker (RCCB), Residual Current
              Circuit Breaker with Overload Protection (RCBO) และ Earth Leakage Circuit Breaker (ELCB) โดยงานก่อสร้าง

              บ้านพักอาศัยนิยมใช้เบรกเกอร์ชนิด RCCB และ RCBO







                                                             202
   208   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218